การค้าหาล่าสุด / Recently searched
      • เผยแพร่เมื่อ 12 ม.ค. 2567
      • แก้ไขครั้งล่าสุด 20 ก.พ. 2567
    • 1 นาที

    อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ สำหรับงานอุตสาหกรรม

    ชวนรู้จักอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ และอุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักร สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม โดย RS ผู้นำด้านจัดจำหน่ายอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติมานานกว่า 84 ปี

    RS marketing banner

    อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ อุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักร สำหรับงานอุตสาหกรรม

    อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักร, ระบบการผลิต หรือระบบไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรม ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามกระบวนการ เช่น ช่วยควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้, ช่วยลำดับขั้นตอนการผลิตให้ถูกต้อง ตลอดจนการนับชิ้นงานการผลิตอย่างแม่นยำ ซึ่งระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมนั้น ไม่ใช่แค่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยเพิ่มความรวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ลดความผิดพลาด และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานได้อย่างคุ้มค่า

    อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง

    อุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าอุตสาหกรรม (Contactors)

    คืออะไร

    Contactor คือ อุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า ใช้สำหรับเปิด-ปิดระบบไฟฟ้าในเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดย Contactor มักเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า สวิตช์ ซึ่งหลายคนมักจะสับสนระหว่าง Contactor และ Relay (รีเลย์) กันอยู่บ่อย ๆ แต่ความแตกต่างของอุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้ก็คือ โดยทั่วไปแล้ว Contactor มักจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า และมีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่า ทั้งยังเหมาะกับการนำไปใช้งานเฉพาะทางมากกว่า

    หน้าที่หลักของอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าอุตสาหกรรม

    โดยปกติแล้ว Contactor หรือ อุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าอุตสาหกรรม จะมาพร้อมกับส่วนประกอบหลัก 4 ชนิดที่สำคัญต่อระบบการทำงาน ได้แก่ ขดลวด (Coil), แกนเหล็ก (Core), หน้าสัมผัส (Contact) และสปริง (Spring) โดยมีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้

    • เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดที่อยู่ตรงกลางของแกนเหล็ก ขดลวดจะทำการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้น
    • แรงของสนามแม่เหล็กจะดึงให้แกนเหล็กอีกหนึ่งชุดเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่ง ON
    • หน้าสัมผัสจะเปลี่ยนสถานะการทำงานเป็นการต่อวงจร
    • หากไม่มีการจ่ายไฟฟ้าไปยังขดลวด ขดลวดจะหยุดสร้างสนามแม่เหล็ก และส่งผลให้หน้าสัมผัสเปลี่ยนสถานะไปเป็นการตัดวงจร ถือเป็นการหยุดการทำงาน

    ความสามารถของ Contactor นั้น ตอบโจทย์กับการควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เช่น การเปิด-ปิดเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือมอเตอร์ที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน 

    เซ็นเซอร์ (Sensors)

    คืออะไร

    เซ็นเซอร์ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดค่าต่าง ๆ และแปลงออกมาเป็นข้อมูลที่ง่ายต่อการอ่าน ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะจะช่วยให้เรารู้ค่าต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ และสามารถควบคุมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    หน้าที่หลักของเซ็นเซอร์

    โดยปกติแล้วเซ็นเซอร์นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่ละประเภทมีหน้าที่แตกต่างกันไป เราสามารถแบ่งประเภทและหน้าที่ของเซ็นเซอร์ได้ดังต่อไปนี้

    • Thermal Sensor หรือเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ นิยมนำไปใช้ในห้องที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ เพื่อไม่ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องเกิดความเสียหาย
    • Proximity Sensors หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องนำเซ็นเซอร์ไปสัมผัสกับสิ่งของ แต่จะตรวจวัดผ่านคลื่น Ultrasonic ซึ่งเป็นคลื่นสำหรับตรวจวัดระยะไกล
    • Flow Sensors หรือเซ็นเซอร์วัดการไหล ทำหน้าที่ตรวจวัดการไหลของของไหลต่าง ๆ เช่น ก๊าซ หรือของเหลว
    • Pressure Sensor หรือเซ็นเซอร์ตรวจวัดความดัน ทำหน้าที่ตรวจวัดแรงดันของก๊าซหรือของเหลวต่าง ๆ
    • Photoelectric Sensors หรือเซ็นเซอร์แสง คือ เซ็นเซอร์ที่ใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุ มีคุณสมบัติเด่นก็คือสามารถตรวจจับได้อย่างรวดเร็ว แม้จะอยู่ในระยะไกลก็สามารถตรวจจับได้ทุกวัตถุ เหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็วเป็นพิเศษ
    • Light and Colour Sensors คือ เซ็นเซอร์ตรวจจับสีและแสง นิยมใช้เพื่อตรวจจับการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรสามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีผิดเพี้ยน
    • Motion Sensors หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ทำหน้าที่ตรวจจับความเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยส่วนมากนิยมนำไปใช้ในงานรักษาความปลอดภัย

    คอนโทรลเลอร์เครื่องจักร (PLCs, HMIs & Industrial Computing)

    คืออะไร

    PLCs หรือ Programmable Logic Controllers คือ อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ที่เปรียบได้กับมันสมองดิจิทัลที่คอยสั่งการได้อย่างอัจฉริยะ และ HMI หรือ Human Machine Interface คือ อุปกรณ์แสดงผลที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับเครื่องจักรหรือระบบควบคุมอัตโนมัติได้ ซึ่งเมื่อทั้งสองระบบนี้ทำงานร่วมกัน ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมระบบการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้กระบวนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

    หน้าที่หลักของคอนโทรลเลอร์เครื่องจักร

    จุดเด่นของคอนโทรลเลอร์เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรทั้งสองชนิดนี้ก็คือ นอกจากจะมีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังเป็นอุปกรณ์ที่มาพร้อมความยืดหยุ่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมอาหาร, ยานยนต์, โรงงานผลิต หรือโรงงานบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์นี้จะช่วยยกระดับการทำงานให้มีความทันสมัย และช่วยให้ธุรกิจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

    อุปกรณ์ควบคุมการผลิต (Process Control)

    คืออะไร

    Process Control หรืออุปกรณ์ควบคุมการผลิต เป็นระบบควบคุมที่จะช่วยให้ความซับซ้อนในโรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็นเรื่องง่าย ทำให้กระบวนการต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม

    หน้าที่หลักของอุปกรณ์ควบคุมการผลิต

    อุปกรณ์ควบคุมการผลิตมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังต่อไปนี้

    • อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ ใช้ในพื้นที่ที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิเป็นพิเศษ
    • แผงมิเตอร์ ใช้แสดงผลการวัดค่าต่าง ๆ เช่น อัตราการไหล, แรงดัน, กระแสไฟฟ้า
    • อุปกรณ์นับเวลา ช่วยให้เครื่องจักรและระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างแม่นยำ
    • หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า ใช้สำหรับลดกระแสไฟฟ้าแรงสูงให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีค่าต่ำ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
    • กิโลวัดต์ฮาวน์มิเตอร์ ใช้สำหรับวัดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า

    อุปกรณ์แจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักร (Automation Signalling)

    คืออะไร

    Automation Signalling คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานได้รู้ถึงสถานะและกระบวนการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงาน

    หน้าที่หลักของอุปกรณ์แจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักร

    อุปกรณ์แจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักร ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เพราะจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจถึงสถานะการทำงานของเครื่องจักรและระบบต่าง ๆ เพื่อให้งานดำเนินได้อย่างราบรื่น และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน เพราะผู้ปฏิบัติงานจะสามารถรู้ได้ทันทีหากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือมีข้อผิดพลาดในระหว่างที่เครื่องจักรกำลังทำงาน

    มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motors)

    คืออะไร

    Electic Motors หรือมอเตอร์ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล มีให้เลือกหลากหลายประเภทตามความต้องการในการใช้งาน

    หน้าที่หลักของมอเตอร์ไฟฟ้า

    มอเตอร์ไฟฟ้าถือว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถใช้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ปั๊ม, พัดลมอุตสาหกรรม, เครื่องมือไฟฟ้า หรือเครื่องมือกลต่าง ๆ 

    หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robots)

    คืออะไร

    หุ่นยนต์อุตสาหกรรม คือ เครื่องจักรกลที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างคล้ายร่างกายมนุษย์ โดยส่วนมากแล้วมักจะเป็นส่วนแขน และมีการตั้งค่าให้สามารถขยับข้อต่อต่าง ๆ ได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ นิยมใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงในโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทในปัจจุบัน

    หน้าที่หลักของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

    หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการทุ่นแรงงานของมนุษย์ สามารถทำงานกับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความแม่นยำสูง และมีความปลอดภัย ทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การผลิตชิ้นงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

    อุปกรณ์ควบคุมการไหล (Solenoids)

    คืออะไร

    Solenoids หรืออุปกรณ์ควบคุมการไหล คือ อุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นวาล์วควบคุมการไหลของน้ำ ก๊าซ หรือของเหลวต่าง ๆ 

    หน้าที่หลักของอุปกรณ์ควบคุมการไหล

    อุปกรณ์ควบคุมการไหลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบจ่ายน้ำ, ระบบทำความเย็น, เครื่องปรับอากาศ และระบบทำความร้อน

    อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง

    อุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าอุตสาหกรรม (Contactors)

    คืออะไร

    Contactor คือ อุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า ใช้สำหรับเปิด-ปิดระบบไฟฟ้าในเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดย Contactor มักเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า สวิตช์ ซึ่งหลายคนมักจะสับสนระหว่าง Contactor และ Relay (รีเลย์) กันอยู่บ่อย ๆ แต่ความแตกต่างของอุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้ก็คือ โดยทั่วไปแล้ว Contactor มักจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า และมีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่า ทั้งยังเหมาะกับการนำไปใช้งานเฉพาะทางมากกว่า

    หน้าที่หลักของอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าอุตสาหกรรม

    โดยปกติแล้ว Contactor หรือ อุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าอุตสาหกรรม จะมาพร้อมกับส่วนประกอบหลัก 4 ชนิดที่สำคัญต่อระบบการทำงาน ได้แก่ ขดลวด (Coil), แกนเหล็ก (Core), หน้าสัมผัส (Contact) และสปริง (Spring) โดยมีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้

    • เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดที่อยู่ตรงกลางของแกนเหล็ก ขดลวดจะทำการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้น
    • แรงของสนามแม่เหล็กจะดึงให้แกนเหล็กอีกหนึ่งชุดเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่ง ON
    • หน้าสัมผัสจะเปลี่ยนสถานะการทำงานเป็นการต่อวงจร
    • หากไม่มีการจ่ายไฟฟ้าไปยังขดลวด ขดลวดจะหยุดสร้างสนามแม่เหล็ก และส่งผลให้หน้าสัมผัสเปลี่ยนสถานะไปเป็นการตัดวงจร ถือเป็นการหยุดการทำงาน

    ความสามารถของ Contactor นั้น ตอบโจทย์กับการควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เช่น การเปิด-ปิดเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือมอเตอร์ที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน

    เซ็นเซอร์ (Sensors)

    คืออะไร

    เซ็นเซอร์ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดค่าต่าง ๆ และแปลงออกมาเป็นข้อมูลที่ง่ายต่อการอ่าน ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะจะช่วยให้เรารู้ค่าต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ และสามารถควบคุมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    หน้าที่หลักของเซ็นเซอร์

    โดยปกติแล้วเซ็นเซอร์นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่ละประเภทมีหน้าที่แตกต่างกันไป เราสามารถแบ่งประเภทและหน้าที่ของเซ็นเซอร์ได้ดังต่อไปนี้

    • Thermal Sensor หรือเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ นิยมนำไปใช้ในห้องที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ เพื่อไม่ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องเกิดความเสียหาย
    • Proximity Sensors หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องนำเซ็นเซอร์ไปสัมผัสกับสิ่งของ แต่จะตรวจวัดผ่านคลื่น Ultrasonic ซึ่งเป็นคลื่นสำหรับตรวจวัดระยะไกล
    • Flow Sensors หรือเซ็นเซอร์วัดการไหล ทำหน้าที่ตรวจวัดการไหลของของไหลต่าง ๆ เช่น ก๊าซ หรือของเหลว
    • Pressure Sensor หรือเซ็นเซอร์ตรวจวัดความดัน ทำหน้าที่ตรวจวัดแรงดันของก๊าซหรือของเหลวต่าง ๆ
    • Photoelectric Sensors หรือเซ็นเซอร์แสง คือ เซ็นเซอร์ที่ใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุ มีคุณสมบัติเด่นก็คือสามารถตรวจจับได้อย่างรวดเร็ว แม้จะอยู่ในระยะไกลก็สามารถตรวจจับได้ทุกวัตถุ เหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็วเป็นพิเศษ
    • Light and Colour Sensors คือ เซ็นเซอร์ตรวจจับสีและแสง นิยมใช้เพื่อตรวจจับการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรสามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีผิดเพี้ยน
    • Motion Sensors หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ทำหน้าที่ตรวจจับความเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยส่วนมากนิยมนำไปใช้ในงานรักษาความปลอดภัย

    คอนโทรลเลอร์เครื่องจักร (PLCs, HMIs & Industrial Computing)

    คืออะไร

    PLCs หรือ Programmable Logic Controllers คือ อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ที่เปรียบได้กับมันสมองดิจิทัลที่คอยสั่งการได้อย่างอัจฉริยะ และ HMI หรือ Human Machine Interface คือ อุปกรณ์แสดงผลที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับเครื่องจักรหรือระบบควบคุมอัตโนมัติได้ ซึ่งเมื่อทั้งสองระบบนี้ทำงานร่วมกัน ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมระบบการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้กระบวนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

    หน้าที่หลักของคอนโทรลเลอร์เครื่องจักร

    จุดเด่นของคอนโทรลเลอร์เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรทั้งสองชนิดนี้ก็คือ นอกจากจะมีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังเป็นอุปกรณ์ที่มาพร้อมความยืดหยุ่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมอาหาร, ยานยนต์, โรงงานผลิต หรือโรงงานบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์นี้จะช่วยยกระดับการทำงานให้มีความทันสมัย และช่วยให้ธุรกิจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

    อุปกรณ์ควบคุมการผลิต (Process Control)

    คืออะไร

    Process Control หรืออุปกรณ์ควบคุมการผลิต เป็นระบบควบคุมที่จะช่วยให้ความซับซ้อนในโรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็นเรื่องง่าย ทำให้กระบวนการต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม

    หน้าที่หลักของอุปกรณ์ควบคุมการผลิต

    อุปกรณ์ควบคุมการผลิตมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังต่อไปนี้

    • อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ ใช้ในพื้นที่ที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิเป็นพิเศษ
    • แผงมิเตอร์ ใช้แสดงผลการวัดค่าต่าง ๆ เช่น อัตราการไหล, แรงดัน, กระแสไฟฟ้า
    • อุปกรณ์นับเวลา ช่วยให้เครื่องจักรและระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างแม่นยำ
    • หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า ใช้สำหรับลดกระแสไฟฟ้าแรงสูงให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีค่าต่ำ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
    • กิโลวัดต์ฮาวน์มิเตอร์ ใช้สำหรับวัดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า

    อุปกรณ์แจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักร (Automation Signalling)

    คืออะไร

    Automation Signalling คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานได้รู้ถึงสถานะและกระบวนการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงาน

    หน้าที่หลักของอุปกรณ์แจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักร

    อุปกรณ์แจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักร ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เพราะจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจถึงสถานะการทำงานของเครื่องจักรและระบบต่าง ๆ เพื่อให้งานดำเนินได้อย่างราบรื่น และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน เพราะผู้ปฏิบัติงานจะสามารถรู้ได้ทันทีหากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือมีข้อผิดพลาดในระหว่างที่เครื่องจักรกำลังทำงาน

    มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motors)

    คืออะไร

    Electic Motors หรือมอเตอร์ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล มีให้เลือกหลากหลายประเภทตามความต้องการในการใช้งาน

    หน้าที่หลักของมอเตอร์ไฟฟ้า

    มอเตอร์ไฟฟ้าถือว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถใช้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ปั๊ม, พัดลมอุตสาหกรรม, เครื่องมือไฟฟ้า หรือเครื่องมือกลต่าง ๆ

    หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robots)

    คืออะไร

    หุ่นยนต์อุตสาหกรรม คือ เครื่องจักรกลที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างคล้ายร่างกายมนุษย์ โดยส่วนมากแล้วมักจะเป็นส่วนแขน และมีการตั้งค่าให้สามารถขยับข้อต่อต่าง ๆ ได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ นิยมใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงในโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทในปัจจุบัน

    หน้าที่หลักของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

    หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการทุ่นแรงงานของมนุษย์ สามารถทำงานกับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความแม่นยำสูง และมีความปลอดภัย ทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การผลิตชิ้นงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

    อุปกรณ์ควบคุมการไหล (Solenoids)

    คืออะไร

    Solenoids หรืออุปกรณ์ควบคุมการไหล คือ อุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นวาล์วควบคุมการไหลของน้ำ ก๊าซ หรือของเหลวต่าง ๆ

    หน้าที่หลักของอุปกรณ์ควบคุมการไหล

    อุปกรณ์ควบคุมการไหลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบจ่ายน้ำ, ระบบทำความเย็น, เครื่องปรับอากาศ และระบบทำความร้อน

    ที่ RS เรามีอุปกรณ์ Automation และ Control Gear คุณภาพสูงหลากหลายประเภท ที่ครอบคลุมและตอบโจทย์ทุกการใช้งาน เพื่อให้งานของคุณดำเนินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ เซ็นเซอร์ Sensors

    เซ็นเซอร์ (Sensors)

    เซ็นเซอร์ที่มีความแม่นยำสูง ใช้ควบคุมและมอนิเตอร์การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Float Switches, Fibre Optic Sensors, Identification Sensors

    ดูสินค้า

    นอกจากนี้ เรายังมีอุปกรณ์และเครื่องมืออื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยยกระดับการทำงาน และช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด

    RS ผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์

    กว่า 84 ปีมาแล้วที่ RS ได้ให้บริการด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ เราดูแลลูกค้าอุตสาหกรรมมากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ด้วยสินค้าคุณภาพสูง และการให้บริการอย่างมืออาชีพ นอกจากอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ อุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า และคอนโทรลเลอร์สำหรับงานอุตสาหกรรม เรายังให้บริการด้านงานซ่อมบำรุงทุกประเภท ตลอดจนโซลูชันระบบจัดซื้อ และโซลูชันการจัดการคลังสินค้าดิจิทัลที่ล้ำสมัย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจของคุณได้อย่างครอบคลุม เรามีสินค้ากว่า 700,000 รายการ จาก 25,000 ซัพพลายเออร์ทั่วโลก พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย และบริการหลังการขายที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจตลอดการใช้งาน สามารถสั่งซื้ออย่างสะดวกผ่านเว็บไซต์ของเราได้ตลอด 24 ชม. หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย