การค้าหาล่าสุด / Recently searched
      • เผยแพร่เมื่อ 8 มี.ค. 2567
      • แก้ไขครั้งล่าสุด 8 มี.ค. 2567
    • 1 นาที

    คู่มือแนะนำ RCBO (อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด)

    RCBO คืออุปกรณ์ดัดไฟอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าช็อต ไฟดูด ไฟฟ้าเกินกำลัง และไฟฟ้าลัดวงจร ช่วยสร้างความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

    RS marketing banner

    มีหลากหลายปัจจัยในการเลือก RCBO ที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยเรามีคำแนะนำในคู่มือ RCBO นี้

    RCBO คืออะไร

    เครื่องตัดไฟอัตโนมัติ (Residual Current Device: RCD) หรือเครื่องตัดวงจรกระแสไฟ (Residual Current Circuit Breaker: RCCB) สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงช่วยเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าช็อตได้ อุปกรณ์เครื่องตัดไฟอัตโนมัติพร้อมด้วยอุปกรณ์ป้องกันการใช้กระแสไฟเกินพิกัดเรียกว่า RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) หรืออุปกรณ์ป้องกันไฟดูดพร้อมมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ในตัว

    หน้าที่การใช้งานหลักของ RCBO คือป้องกันกระแสไฟขัดข้อง กระแสไฟเกินกำลัง และกระแสไฟลัดวงจร ดังนั้นจึงแนะนำให้มีการติดเบรกเกอร์กันดูด RCBO เข้ากับแต่ละวงจรไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่าแม้จะเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องที่วงจรหนึ่งก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของวงจรอื่น ๆ โดยอุปกรณ์นี้ช่วยตัดไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของคนและอุปกรณ์ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าไม่สมดุล และยังทำงานได้ในอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกินอื่น ๆ ตามความจุไฟฟ้าที่กำหนด

    ข้อกำหนดการออกแบบและการตรวจสอบสำหรับ RCBO นั้นระบุไว้ตามมาตรฐาน IEC/EN 61009 โดยอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดพร้อมมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ในตัว สามารถใช้ในบ้านและการใช้ประโยชน์ที่ใกล้เคียงได้ (RCBO)

     RCBO คืออะไร

    เครื่องตัดวงจรกระแสไฟฟ้า

    จากที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้น เครื่องตัดวงจรกระแสไฟนั้นออกแบบมาให้ตัดแหล่งจ่ายไฟได้อย่างรวดเร็วและเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าช็อต แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของผู้ใช้งานที่อาจจะล้มลงหลังจากเกิดการช็อตครั้งแรก หรือสัมผัสตัวนำไฟฟ้า

    เบรกเกอร์สามารถตัดระบบไฟจากแผงวงจรได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ เมื่อตรวจพบกระแสไฟฟ้าที่ไม่เสถียรระหว่างวงจรจ่ายไฟฟ้าและตัวนำส่งคืน โดยไฟฟ้าจะเกิดอาการช็อตเมื่อมีความแตกต่างระหว่างกระแสภายในตัวนำ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงกระแสไฟรั่ว

    อุปกรณ์ RCD เป็นส่วนประกอบสำคัญในการตัดการเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟอัตโนมัติ (ADS) แทนการตัดไฟโดยคน อุปกรณ์ควรทำงานภายใน 25-40 มิลลิวินาทีหลังจากตรวจจับกระแสไฟรั่ว (ผ่านคน) ที่เกินกว่า 30 มิลลิแอมป์ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องทราบด้วยว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับวงจรสุดท้ายที่น้อยกว่า 32 แอมป์เท่านั้น

    เบรกเกอร์ RCBO คืออุปกรณ์ป้องกันไฟดูดพร้อมมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ป้องกันกระแสไฟเกินในตัว โดยอุปกรณ์นี้ออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าทำงานอย่างปลอดภัย และจะกระตุ้นให้เกิดการตัดไฟทุกครั้งเมื่อไฟฟ้าไม่เสถียร ซึ่งจุดประสงค์การใช้งานหลักเพื่อป้องกันไฟฟ้าเกินกำลังและลัดวงจรจากกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน

    หลักการทำงานของ RCBO

    RCBO นั้นทำงานโดยช่วยป้องกันไฟฟ้าขัดข้องสองประเภท ประเภทแรกคือกระแสไฟฟ้าตกค้างหรือรั่วลงดิน ซึ่งเกิดขึ้นได้จากวงจรไฟฟ้าหยุดทำงานกระทันหันเนื่องจากเกิดการผิดพลาดจากการเดินสายหรืออุบัติเหตุจากการปรับแต่งสาย (เช่น การตัดสายเคเบิลเมื่อใช้เครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว) หากไม่มีการตัดไฟ ผู้ที่ใช้งานจะถูกไฟฟ้าช็อตจนถึงแก่ชีวิตได้

    อีกกรณีหนึ่งคือ กระแสไฟฟ้าเกินกำลังซึ่งมาจากไฟฟ้าลัดวงจรและการจ่ายไฟฟ้าที่มากเกินไป ในกรณีแรกนั้นวงจรไฟฟ้าจะเกินกำลังจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ามากเกินไป ซึ่งเป็นผลให้การโอนถ่ายพลังงานนั้นเกินความจุไฟฟ้า การลัดวงจรอาจจะเกิดได้จากความต้านทานของวงจรไฟฟ้าไม่เพียงพอและความจุไฟฟ้าเกินกำลัง ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของไฟฟ้า โดยคู่มือนี้จะแนะนำอุปกรณ์เบรกเกอร์ RCBO จากแบรนด์ชั้นนำด้านล่างนี้

    Schneider Electric

    ฟังก์ชันการใช้งาน :

    • ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและกระแสไฟฟ้าเกินกำลังในสายไฟ
    • ป้องกันคนจากการถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง (ที่ความไว 10, 30 มิลลิแอมป์)
    • ป้องกันคนจากการถูกไฟดูดทางอ้อม (ที่ความไว 100 มิลลิแอมป์)
    • ป้องกันอุปกรณ์เสียหายจากการเกิดไฟฟ้ารั่ว (ที่ความไว 100 มิลลิแอมป์)

    Eaton

    ฟังก์ชันการใช้งาน :

    • ปลอดภัย เชื่อถือได้ และป้องกันได้ดีจากระบบตัวจ่ายไฟฟ้า

    Siemens

    ฟังก์ชันการใช้งาน :

    • มีการเชื่อมต่อที่เห็นได้ชัดเจนด้านหน้าของส่วนควบคุมระบบ
    • มีขนาดใหญ่และมีพื้นที่เดินสายได้ง่ายต่อการติดตั้งตัวนำขั้วไฟฟ้า
    • มีความทนทานต่อกระแสไฟกระชากได้มากกว่า 1 กิโลแอมป์ ทำให้ปลอดภัยและมีความเชื่อมั่นในการใช้งาน

    RCD กับ RCBO ต่างกันอย่างไร

    RCD นั้นออกแบบมาเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อตและไฟไหม้ โดยการตัดระบบส่งไฟอย่างอัตโนมัติเมื่อตรวจพบกระแสไฟฟ้ารั่ว RCD ยังช่วยตรวจสอบการไหลของกระแสไฟผ่านสายไฟได้อย่างต่อเนื่องในทิศทางเดียวและในทิศทางย้อนกลับ โดยวงจรไฟฟ้าจะขาดอัตโนมัติในกรณีที่ไฟฟ้ามีความแตกต่างอยู่ที่ 300 มิลลิแอมป์หรือน้อยกว่า ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจในการป้องกันไฟฟ้าช็อตได้

    แต่อย่างไรก็ตาม ควรทราบว่า RCD จะไม่ตอบสนองหากไฟฟ้าเกินกำลัง หรือไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งระดับมาตรฐานอยู่ระหว่าง 32 แอมป์ถึง 64แอมป์ แต่ค่าที่กล่าวถึงนี้สอดคล้องกับหน้าสัมผัสและกลไกสลับภายใน ที่อุปกรณ์จะไม่ตัดระบบหากเกินระดับมาตรฐาน โดยจะเห็นได้ถึงตัวชี้วัดที่เกินค่ามาตรฐานหากอุปกรณ์ได้ระดับค่าเกินกำหนด

    RCD ทั้งหมดมาพร้อมกับปุ่มทดสอบ ช่วยให้สามารถจำลองสถานการณ์ความไม่เสถียรของแหล่งจ่ายไฟฟ้าได้ หากอุปกรณ์ไม่ตัดระบบไฟระหว่างการทดสอบ ควรจะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่

    โดยมีข้อแตกต่างที่สำคัญบางประการระหว่าง RCD และ RCBO ที่ซึ่ง RCBO มีสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบสำหรับการจ่ายไฟและแยกระบบไฟภายใต้การทำงานปกติ เพื่อเชื่อมต่อเมื่อกระแสคงเหลืออยู่ในระดับที่กำหนดไว้ อุปกรณ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบเพื่อป้องกันการเกิดกระแสไฟเกิน และการลัดวงจรด้วย

    RCBO จะตัดวงจรไฟฟ้าหากกระแสเกินค่าที่กำหนด กระแสไฟฟ้าที่เกินกำลังอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงหรือการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไปจากอุปกรณ์หลายชิ้น ซึ่งจะทำให้วงจรไฟฟ้าตัดไฟโดยอัตโนมัติ โดยหากไฟฟ้าไม่ถูกตัดนั้นอาจจะทำให้สายไฟฟ้าละลายและเกิดไฟไหม้ขึ้น จะเห็นได้ว่า RCBO ช่วยป้องกันตัวบุคคล อุปกรณ์ และทรัพย์สิน

    RCD คืออะไร

    จากที่กล่าวในเบื้องต้นว่า RCD (Residual Current Device) คือเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ หน้าที่การทำงานนั้นสัมพันธ์กับวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน โดยไฟฟ้าถูกจ่ายผ่านสายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยจะไหลผ่านสายเคเบิลที่เป็นตัวกลางเพื่อให้วงจรไฟฟ้าสมบูรณ์ หากไฟฟ้าถูกเปลี่ยนผ่านไปยังสายดินผู้ใช้งานอาจจะถูกไฟฟ้าช็อตได้

    RCD จะตรวจสอบการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านสายที่จ่ายไฟว่า กระแสไฟนั้นมีความเสถียร หากพบความผิดปกติ ไฟฟ้าจะถูกตัดเพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้าช็อต ซึ่งอุปกรณ์นี้ทำให้เกิดการป้องกันตัวบุคคลได้เป็นอย่างดีมากกว่าฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ทั่วไป

    โดยการเลือกใช้ประเภท RCD เป็นไปตามรายการด้านล่างนี้

    • RCD แบบติดตั้งคงที่ - RCD ประเภทนี้จะติดอยู่ในตู้ควบคุมไฟฟ้า (Fusebox) และป้องกันไฟฟ้าที่เป็นอันตรายต่อบุคคลและเซอร์กิตทั้งหมด
    • RCD แบบเต้ารับ - RCD ประเภทนี้จะอยู่ในตัวเต้ารับ ซึ่งมาแทนที่เต้ารับมาตรฐานทั่วไป และให้การป้องกันเป็นพิเศษแก่ผู้ใช้อุปกรณ์
    • RCD แบบพกพา - RCD ประเภทนี้สามารถใช้ได้กับเต้ารับแบบมาตรฐาน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถติด RCD นี้ได้ เหมาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ติดตั้งที่ไม่มี RCD แบบตายตัวหรือเต้ารับ RCD และยังคงป้องกันผู้ใช้อุปกรณ์ให้ปลอดภัยมากขึ้น
    หลักการทำงานของ RCBO

    RCBO กับ RCCB ต่างกันอย่างไร

    RCCB มีหน้าที่การทำงานคล้ายคลึงกับ RCBO แต่อย่างไรก็ตาม RCCB ไม่ได้ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง ดังนั้นจะไม่ได้มีการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร โดย RCCB จะช่วยป้องกันไฟฟ้ารั่วลงดินโดยเฉพาะ และต้องติดตั้ง CB เสริมภายนอก เพื่อช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าเกินกำลังและไฟลัดวงจร

    RCBO กับ MCB

    MCB (Miniature Circuit Breaker) หรือวงจรเบรกเกอร์ขนาดเล็ก เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าที่ป้องกันวงจรโดยอัตโนมัติจากการเกิดไฟฟ้าเกินกำลัง โดยจะตัดไฟไม่ให้จ่ายมาที่วงจรไฟฟ้าหากตรวจพบความผิดปกติ เซอร์กิตเบรกเกอร์นี้สามารถเปิด-ปิดได้เพื่อแยกวงจรออก และค่อนข้างปลอดภัยหากใช้กับตัวนำไฟฟ้าที่อยู่ในปลอกพลาสติก ข้อแตกต่างระหว่าง RSBO และ MCB คือ MCB นั้นไม่ได้มีการป้องกันไฟรั่วลงดิน

    การแทนที่ของ MCB ด้วย RCBO

    การแจ้งเตือนนั้นไม่มีความจำเป็นตามการควบคุมของอาคารหรือการลงทะเบียนส่วน P โดยมีเงื่อนไขว่าขนาดสายเคเบิลที่เหมาะสมพิจารณาจากพิกัดของเบรกเกอร์ แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้เบรกเกอร์อุตสาหกรรมนั้นการเปลี่ยน MCB เป็น RCBO ต้องดำเนินการโดยช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญตามคำแนะนำและแนวทางของผู้ผลิตและหลักเกณฑ์มาตรฐาน BS7671 โดยจำเป็นต้องตรวจสอบระดับความด้านทานและทดสอบฉนวน ฉนวนของ RCBO ควรทำงานภายในข้อกำหนดที่ระบุไว้ ขั้นตอนการติดตั้ง RCBO มีดังนี้

    • แยกแหล่งจ่ายไฟออกจากตู้ไฟ
    • ขันตัวยึดสองตัวที่ 90 องศา เพื่อถอดฝาครอบออก
    • ค่อย ๆ คลายขั้วต่อด้านล่างอย่างระมัดระวัง
    • เปิดคลิปอุปกรณ์ด้านล่าง
    • วางอุปกรณ์ลงบน Din Rail หรือ รางปีกนก และ Busbar หรือตัวนำไฟฟ้า
    • เปิดคลิป RCBO ด้านล่าง
    • ยึดอุปกรณ์เข้ากับ Busbar และขันสกรูขั้วต่อด้านล่างให้แน่น
    • ตรวจสอบความแน่นของการเชื่อมต่อสายเคเบิล

    วิธีการต่อสาย RCBO

    เริ่มต้นปิดกระแสไฟฟ้าไม่ให้เข้าที่อุปกรณ์ก่อนเริ่มต่อสาย โดยสาย PE (Protective Earth) ควรติดอยู่กับแท่งโลหะฝังดิน (Earth Bar) โดยต่อสายไฟไว้ที่ด้านบนของตัวแยกสาย ส่วนสายเฟสควรอยู่ในตำแหน่งซ้ายของขั้วต่อ และสายที่ไม่มีกระแสไฟไหลอยู่ควรอยู่ทางด้านขวา จากนั้นควรตัด Busbar ให้มีขนาดเหมาะสมก่อนเชื่อมต่อที่ด้านท้ายของตัวแยกวงจรไฟและ RCBO

    สายไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟอยู่นั้นควรเชื่อมต่อจากด้านล่างของตัวแยกสายไฟเข้ากับ Earth Bar โดยสายขาออกจะเป็นแกนคู่และสายดิน และควรใช้ปลอกหุ้มสายดินก่อนเชื่อมต่อกับ Earth Bar นอกจากนี้ยังต้องติดลวดไฟฟ้ากับขั้ว “L” และควรต่อสายสีน้ำเงินที่ไม่มีกระแสไฟเข้ากับขั้ว “N” โดยสายต้องมีความยาวที่เหมาะสม และต่อสายดินเชื่อมกับบาร์ที่รองรับ ซึ่งขั้นตอนนี้ควรดำเนินการต่อเนื่องด้วยการต่อสายไฟที่ไม่มีศักย์ไฟฟ้าไปยังบาร์ที่เหมาะสม

    ติดตั้ง RCBO อย่างไร

    ก่อนทำการติดตั้ง จะต้องทำการตรวจสอบให้แน่ชัดว่า RCBO นั้นป้องกันกระแสไฟได้อย่างน้อย 10 มิลลิแอมป์ ที่พิกัดกระแสไฟ 25 แอมป์ และผ่านการรับรองโดย SRIM มีการป้องกันประเภท A โดยสามารถเข้ากับสายไฟฟ้าที่กระแสไฟอยู่และไม่มีกระแสไฟ นอกจากนี้ ต้องใช้ไขควงที่เหมาะสมในการติดตั้ง RCBO อย่างแน่นหนา และใช้ปากกาทดสอบไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าไฟถูกตัดการเชื่อมต่อจากแหล่งจ่ายไฟหลักแล้ว

    หลังจากนั้น ต้องทำการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าสายไฟนั้นเชื่อมต่ออย่างเหมาะสม เพื่อให้ RCBO ทำงานได้อย่างถูกต้อง สายไฟต้องเชื่อมกับขั้วต่อและขันให้แน่นด้วยไขควง ขั้นตอนถัดไปต้องทำการเชื่อมต่อสายดินจาก RCBO ไปยังบาร์และขันด้วยไขควงให้แน่นอีกครั้ง จากนั้นเปิดสวิตช์ RCBO และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ ซึ่งสามารถตรวจสอบการติดตั้งโดยกดปุ่มทดสอบของ RCBO ว่าเครื่องสามารถทำงานได้ และสามารถตัดการเชื่อมต่อได้จริง โดยเทอร์มินัลอาจจะต้องเชื่อมต่อใหม่ในบางกรณี

    สินค้าขายดี

    Schneider Electric อุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้า RCBO

    Schneider Electric

    Schneider Electric บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าและระบบอัตโนมัติสำหรับภาคอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำเสนอโซลูชันที่ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

    ABB อุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้า RCBO

    ABB

    ABB บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกในด้านอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้า ก่อตั้งขึ้นในปี 1883 โดยความร่วมมือระหว่างสองบริษัทสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์คือ ASEA และ Brown Boveri ดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ

    Lovato Electric จำหน่าย RCBO

    Lovato

    Lovato Electric ก่อตั้งเมื่อปี 1992 ประเทศอิตาลี ดำเนินการออกแบบและผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานอุตสาหกรรม จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000 รายการ เช่น Magnetic Controller, Digital Power Meter, Power Factor Controller และ ระบบซอฟต์แวร์ "Synergy" เพื่อการจัดการพลังงานอย่างสมบูรณ์แบบ

    ลิงก์ที่เกี่ยวข้อ