การค้าหาล่าสุด / Recently searched
      • เผยแพร่เมื่อ 17 ม.ค. 2567
      • แก้ไขครั้งล่าสุด 19 ก.พ. 2567
    • 1 นาที

    อุปกรณ์นิวเมติกส์ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม โดย RS ผู้นำด้านจัดจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์มานานกว่า 84 ปี

    RS marketing banner

    ระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic System) คือ ระบบที่จะทำการอัดอากาศเพื่อใช้เป็นพลังงาน และส่งไปตามท่อที่ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักร เพื่อให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงานได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ระบบนิวเมติกส์ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่อุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ที่มีระบบการทำงานไม่ซับซ้อนอย่างกระบอกสูบลม หรือมอเตอร์ลม ไปจนถึงเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ และยังสามารถนำไปใช้รวมกับระบบ Automation เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติอีกด้วย

    อุปกรณ์นิวเมติกส์ในงานอุตสาหกรรม

    อุปกรณ์นิวเมติกส์ในงานอุตสาหกรรม มีอยู่ด้วยกัน 5 ส่วนหลัก มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

    1. อุปกรณ์ดันกำลัง (Power Unit)

    อุปกรณ์ดันกำลัง หรืออุปกรณ์ลมนิวเมติกส์ คือ อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ทำหน้าที่สร้างอากาศอัดแรงดันสูง เพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับเครื่องจักร ประกอบด้วย

    • อุปกรณ์ขับเคลื่อน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนพลังงานให้กับเครื่องอัดลม เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า
    • เครื่องอัดอากาศ ทำหน้าที่อัดอากาศให้มีแรงดันสูง
    • เครื่องระบายความร้อน ทำหน้าที่หล่อเย็นเพื่อให้อากาศอัดเย็นตัวลง
    • ตัวกรองอากาศ ทำหน้าที่กรองอากาศก่อนที่จะส่งอากาศอัดไปตามท่อ
    • ถังเก็บลม มาพร้อมกับลิ้นระบายความดัน ทำหน้าที่เก็บอากาศที่ได้จากเครื่องอัด ก่อนจะปรับแรงดันให้เหมาะสม และจ่ายอากาศอัดที่มีแรงดันสม่ำเสมอไปยังเครื่องจักรต่าง ๆ
    • เครื่องกำจัดความชื้น ทำหน้าที่แยกความชื้นและละอองน้ำที่แฝงมากับอากาศอัด

    2. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพอากาศอัด (Compressed air Treatment component)

    อุปกรณ์นิวเมติกส์ในส่วนนี้ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปรับปรุงคุณภาพของอากาศอัด เพื่อให้พร้อมสำหรับการนำไปใช้งาน โดยจะทำให้อากาศอัดที่ได้เป็นอากาศสะอาด ปราศจากฝุ่นละอองหรือเศษผงต่าง ๆ ประกอบด้วย

    • ตัวกรองอากาศ
    • ตัวปรับแรงดันอากาศ
    • ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่น

    3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling component)

    อุปกรณ์ในส่วนนี้ คือ วาล์วสำหรับควบคุม ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการเริ่มและการหยุดระบบการทำงานของวงจร ทั้งยังใช้สำหรับควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ และควบคุมแรงดันอากาศอีกด้วย

    4. อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or working component)

    อุปกรณ์ในส่วนนี้ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานอากาศให้เป็นพลังงานกล เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน เช่น กระบอกสูบลม หรือมอเตอร์ลม 

    5. อุปกรณ์ในระบบท่อ (Piping system)

    อุปกรณ์ในระบบท่อ คือ อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อเป็นทางไหลของอากาศในระบบนิวเมติกส์ ทำหน้าที่ส่งอากาศอัดที่มีคุณภาพไปยังเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ

    ตัวอย่างการทำงานของระบบนิวเมติกส์

    หลักการทำงานของระบบนิวเมติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ โดยสามารถอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ได้ดังนี้ 

    1. ส่วนเตรียมอากาศ

    ส่วนเตรียมอากาศ คือ ส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นต้นทางของระบบนิวเมติกส์ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เตรียมอากาศอัดที่มีคุณภาพ ก่อนที่ระบบจะส่งต่อไปยังเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเริ่มจากการสร้างอากาศอัด จากนั้นตัวกรองอากาศจะทำการกรองเศษฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอม ก่อนที่ตัวปรับแรงดันอากาศจะทำหน้าที่ปรับแรงดันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัย และในขั้นตอนสุดท้าย ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นจะทำการจ่ายละอองน้ำมัน เพื่อลดความเสียดสีจากอากาศอัดที่มีแรงดันสูง

    2. ส่วนควบคุมการไหล

    เมื่อได้อากาศอัดที่มีคุณภาพ พร้อมสำหรับการนำไปใช้แล้ว ส่วนควบคุมการไหลจะทำหน้าที่ควบคุมทิศทางและอัตราการไหลของอากาศอัด ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิด, วาล์วที่ช่วยกันไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับ และคอนโทรลเลอร์ที่ช่วยปรับอัตราการไหลของอากาศให้อยู่ในระดับที่เหมาะกับการใช้งาน

    3. ส่วนขับอากาศ

    ส่วนขับอากาศถือเป็นส่วนสุดท้ายในระบบนิวเมติกส์ โดยในส่วนนี้จะมีอุปกรณ์สำคัญที่เรียกว่า Pneumatic Actuator เป็นอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานที่ได้จากอากาศอัดให้เป็นพลังงานกล เพื่อให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เกิดการเคลื่อนไหว

    ข้อดีของระบบนิวเมติกส์

    • ใช้งานง่าย

    จุดเด่นของระบบนิวเมติกส์ก็คือ เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ต้องมีผู้ควบคุมอยู่ตลอดเวลา หากไม่ต้องการใช้อากาศอัดแล้ว ก็สามารถปล่อยทิ้งได้ทันที 

    • มีความปลอดภัยสูง

    ระบบนิวเมติกส์เป็นระบบที่ได้รับความนิยมในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากไม่ต้องใช้งานระบบไฟฟ้า จึงช่วยลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟไหม้ได้เป็นอย่างดี และอากาศอัดที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์ลมนิวเมติกส์ ยังเป็นอากาศอัดที่ทนทานต่อแรงระเบิดได้สูงอีกด้วย

    • มีความทนทาน

    นอกจากเรื่องความปลอดภัย ระบบนิวเมติกส์ยังเป็นระบบที่มีความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน เพราะอุปกรณ์นิวเมติกส์แต่ละชิ้นจะถูกผลิตขึ้นจากวัสดุที่มีความแข็งแรงสูง เช่น สเตนเลส หรืออะลูมิเนียม 

    • ง่ายต่อการดูแลรักษา

    ในเรื่องของการทำความสะอาดและการดูแลรักษาระบบนิวเมติกส์นั้นสามารถทำได้ง่าย เพราะเป็นระบบที่ทำงานด้วยลมเป็นหลัก จึงหมดปัญหาเรื่องน้ำมันรั่วไหล และไม่มีของเหลวให้ต้องคอยเปลี่ยนถ่าย

    การบำรุงรักษาระบบนิวเมติกส์

    ถึงแม้ว่าระบบนิวเมติกส์จะเป็นระบบที่ใช้งานง่าย และอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็มีความแข็งแรงทนทาน แต่ระบบนี้ก็ต้องบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ขัดข้องต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยสามารถแบ่งระดับการบำรุงรักษาได้เป็น 3 ระดับดังนี้

    • การบำรุงรักษาอย่างง่าย ทำได้โดยการตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศ และทำความสะอาดส่วนประกอบอุปกรณ์นิวเมติกส์ เพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
    • การบำรุงรักษาระดับปานกลาง ในส่วนนี้คล้ายคลึงกับการบำรุงรักษาอย่างง่าย แต่จะเพิ่มเติมการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์นิวเมติกส์โดยละเอียด เพื่อดูว่ามีชิ้นส่วนใดที่ชำรุดและจำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนเป็นชิ้นส่วนใหม่ การบำรุงรักษาในระดับนี้ ควรทำโดยช่างที่มีความเข้าใจในอุปกรณ์และมีประสบการณ์การซ่อมบำรุงมาก่อน
    • การบำรุงรักษาระดับสูง เป็นการถอดส่วนประกอบอุปกรณ์นิวเมติกส์ทั้งหมดออกมาทำความสะอาด และตรวจเช็กภายในอย่างละเอียดเพื่อหาจุดที่ได้รับความเสียหาย เช่น ตรวจสอบการรั่วไหล หรือตรวจสอบสภาพของท่อและข้อต่อต่าง ๆ และทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่ เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งในขั้นตอนเหล่านี้ ควรทำโดยช่างที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในด้านระบบนิวเมติกส์เช่นเดียวกัน

    การบำรุงรักษาระบบนิวเมติกส์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น และช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้งานอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ พร้อมยกระดับความปลอดภัย และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้มากขึ้นในระยะยาว

    ตัวอย่างการใช้งานระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

    ระบบนิวเมติกส์เป็นระบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 

    • ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น การลำเลียงและการยกชิ้นส่วนต่าง ๆ
    • ใช้ในกระบวนการประกอบ เช่น การประกอบชิ้นส่วน การพ่นสี
    • ใช้ในกระบวนการบรรจุ เช่น การบรรจุสินค้า การติดฉลาก
    • ใช้ในกระบวนการขนส่ง เช่น การขนถ่ายสินค้า การเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์

    เลือกซื้ออุปกรณ์นิวเมติกส์หลากหลายรายการได้ที่ RS

    ตัวอย่างอุปกรณ์นิวเมติกส์สำหรับกรองอากาศ

    อุปกรณ์นิวเมติกส์สำหรับกรองอากาศอัด (Pneumatic Air Preparation)

    ตัวอย่างอุปกรณ์ลมนิวเมติกส์

    คอนเนคเตอร์ สายยาง และข้อต่อสำหรับท่อส่งอากาศอัด (Pneumatic Connectors, Fittings & Hose)

    ตัวอย่างอุปกรณ์นิวเมติกส์ เซ็นเซอร์แรงดัน

    อุปกรณ์เซ็นเซอร์และสวิตช์ (Pneumatic Sensors & Switches)

    RS ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์คุณภาพสูง

    กว่า 84 ปีมาแล้วที่ RS ได้ให้บริการด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ เราดูแลลูกค้าอุตสาหกรรมมากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ด้วยสินค้าคุณภาพสูงและให้บริการอย่างมืออาชีพ นอกจากจะเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย เรายังให้บริการด้านงานซ่อมบำรุงทุกประเภท ตลอดจนโซลูชันระบบจัดซื้อ และโซลูชันการจัดการคลังสินค้าดิจิทัลที่ล้ำสมัย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจของคุณได้อย่างครอบคลุม เรามีสินค้ากว่า 700,000 รายการ จาก 25,000 ซัพพลายเออร์ทั่วโลก พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย และมีบริการหลังการขายที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจตลอดการใช้งาน สามารถสั่งซื้ออย่างสะดวกผ่านเว็บไซต์ของเราได้ตลอด 24 ชม. หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย

    ลิงก์ที่เกี่ยวข้อ