การค้าหาล่าสุด / Recently searched
      • เผยแพร่เมื่อ 2 เม.ย. 2567
      • แก้ไขครั้งล่าสุด 2 เม.ย. 2567
    • 1 นาที

    ชวนรู้จักเทคโนโลยี IoT และ IIot ในโรงงานอุตสาหกรรม

    ในบทความนี้ จะมาแนะนำตัวอย่างเทคโนโลยี IoT และ IIoT ในอุตสาหกรรม ที่สามารถสนองความต้องการในยุค Industry 4.0 ได้อย่างดีเยี่ยม

    RS marketing banner
    เทคโนโลยี IoT และ IIot ในโรงงาน

    ในยุคของ Industry 4.0 เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และ IIoT (Industrial IoT) ที่นำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยในแต่ละส่วนให้ดียิ่งขึ้น

    บทความนี้ จะมาแนะนำตัวอย่างเทคโนโลยี IoT และ IIoT อุปกรณ์ Automation ในอุตสาหกรรม ที่สามารถสนองความต้องการในยุค Industry 4.0 ได้อย่างดีเยี่ยม

    ชวนรู้จักเทคโนโลยี IoT และ IIot ในอุตสาหกรรม

    เทคโนโลยี IoT ในอุตสาหกรรม คืออะไร

    เทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลและส่งข้อมูลในวงกว้างไปยังจุดศูนย์กลางเพื่อประมวลผลได้อย่างเป็นระบบ แบบเรียลไทม์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ความปลอดภัย และลดต้นทุน

    ข้อดีของเทคโนโลยี IoT

    • ด้านการเชื่อมต่อ : อุปกรณ์ IoT สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อดึงข้อมูลสำคัญหรือสั่งการควบคุมได้จากระบบส่วนกลาง
    • ด้านการเก็บข้อมูล : อุปกรณ์ IoT สามารถรวบรวมหรือบันทึกข้อมูลอย่างอัตโนมัติ ลดภาระของพนักงานที่มีหน้าที่ในการบันทึกข้อมูล และยังช่วยลดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล
    • ด้านการบูรณาการข้อมูล : อุปกรณ์ IoT สามารถดึงข้อมูลจากเครื่องจักรและค่าต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตมาเก็บไว้ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปยังหน้าจอแสดงผล เพื่อตรวจสอบค่าต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์
    • ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงผล : อุปกรณ์ IoT สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยนำไปแสดงผลในลักษณะต่าง ๆ เช่น กราฟ แผนภูมิ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น

    เทคโนโลยี IIoT ในอุตสาหกรรม คืออะไร

    เทคโนโลยี IIoT หรือ Industrial Internet of Things เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาจาก IoT เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของโรงงานอุตสาหกรรมและการผลิตได้มากขึ้น โดยมีการทำงานหลักที่ช่วยเชื่อมต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมเข้ากับอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูล และส่งข้อมูลไปยังจุดศูนย์กลาง เพื่อประมวลผลได้อย่างเสถียรและรวดเร็วมากขึ้น

    ข้อดีของเทคโนโลยี IIoT (Industrial IoT)

    • ด้านการใช้งานข้อมูล : อุปกรณ์ IIoT สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้ข้อมูลการผลิตได้ โดยผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลจากระบบต่าง ๆ ในโรงงานออกได้อย่างรวดเร็วและเสถียร
    • ด้านการทำงาน : อุปกรณ์ IIoT สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ไปวิเคราะห์ประมวลผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงพัฒนาสายการผลิตได้
    • ด้านการเชื่อมต่อ : อุปกรณ์ IIoT สามารถเชื่อมต่อข้อมูลในแต่ละหน่วยงานภายในโรงงาน ตั้งแต่ไลน์การผลิต การ QC การแพ็กเกจ การโลจิสติกส์ ไปจนถึงงานออฟฟิศได้ครบถ้วนอย่างเป็นระบบ
    • ด้านความปลอดภัย : อุปกรณ์ IIoT สามารถเข้าจัดการ ควบคุม และสั่งหยุดการทำงานของเครื่องจักรได้ทันที เมื่อระบบเซนเซอร์ตรวจจับถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายในโรงงานได้

    ตัวอย่างเทคโนโลยี IoT และ IIot ในอุตสาหกรรม

    เทคโนโลยีด้านการติดตามและควบคุม

    เป็นอุปกรณ์ IoT และ IIoT ในโรงงานที่สามารถใช้เพื่อติดตามและบันทึกข้อมูล สำหรับควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ และกระบวนการผลิตได้อย่างมีเสถียรภาพและรวดเร็ว ผ่านการสื่อสารข้อมูลแบบเรียลไทม์ จึงช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียได้

    เซนเซอร์วัดค่าต่าง ๆ

    • เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น : อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิหรือความชื้นในบริเวณ มักใช้ในห้องควบคุมอุณหภูมิความชื้น ห้องอบในอุตสาหกรรมอาหาร
    • เซนเซอร์วัดความดัน : อุปกรณ์ตรวจวัดความดันของก๊าซหรือเหลว โดยเซนเซอร์จะส่งสัญญาณทางไฟฟ้าที่มีความสัมพันธ์กับความดัน สำหรับตรวจจับความดันสูงเกินไปของเครื่องจักร เหมาะสำหรับลูกค้าทุกประเภทอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและยา เคมี
    • เซนเซอร์วัดการสั่นสะเทือน : อุปกรณ์ตรวจจับการสั่นสะเทือนที่ผิดปกติของเครื่องจักร ใช้สำหรับพิสูจน์การสึกหรอของกลไกเครื่องจักร เพื่อวางแผนการซ่อมบำรุง
    • เซนเซอร์วัดความลึก : อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดระยะห่างจากวัตถุหรือพื้นผิว โดยอาศัยหลักการต่าง ๆ เช่น การใช้คลื่นเสียง แสง หรือเลเซอร์ สามารถใช้งานควบคุมระดับของเหลวในถัง หรือความลึกของบ่อ

    อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้สภาวะต่าง ๆ เครื่องจักรในโรงงาน รวมถึงสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อควบคุมหรือปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตได้

    โปรเซสเซอร์

    โปรเซสเซอร์ หรือ CPU (Central Processing Unit) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งที่ได้รับจากโปรแกรมต่าง ๆ โดยโปรเซสเซอร์เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลหลาย ๆ ส่วนจากเครื่องจักรได้ในครั้งเดียว และทำการเชื่อมโยงการทำงานในทุกจุดได้แบบเรียลไทม์

    เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย

    อุปกรณ์ IoT และ IIoT ในโรงงานที่สามารถใช้เพื่อติดตามและควบคุมการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ผิดปกติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

    • เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุแปลกปลอม : อุปกรณ์ตรวจจับวัตถุแปลกปลอมหรือสิ่งเจือปนที่ปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบ โดยเซนเซอร์จะส่งสัญญาณเตือนเมื่อตรวจพบวัตถุแปลกปลอม ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้วัตถุแปลกปลอมหลุดรอดไปสู่กระบวนการผลิตหรือผู้บริโภคต่อไป
    • กล้องรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ : เป็นกล้องวงจรปิดที่ผสมผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าไป ทำให้สามารถวิเคราะห์ภาพและพฤติกรรมของวัตถุหรือบุคคลได้ ซึ่งสามารถแจ้งเตือนเหตุการณ์สำคัญได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับทรัพย์สินและบุคคลภายในโรงงานอุตสาหกรรมได้
    • เซนเซอร์ตรวจจับควัน : อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ โดยเซนเซอร์จะส่งสัญญาณเตือนเมื่อตรวจพบควัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เพลิงไหม้ลุกลามหรือขยายวงกว้าง
    ตัวอย่างเทคโนโลยี IoT และ IIot ในอุตสาหกรรม

    ปัจจัยในการเลือกใช้งานอุปกรณ์ IoT และ IIot ในอุตสาหกรรม

    • พิจารณาวัตถุประสงค์การใช้งานก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์ เช่น ต้องการใช้อุปกรณ์ IoT เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร หรือเก็บรวบรวมข้อมูล แบบเรียลไทม์
    • พิจารณาคุณสมบัติของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น อุปกรณ์ที่ต้องการใช้เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยควรมีคุณสมบัติที่สามารถวัดค่าอุณหภูมิ ความชื้น และการเคลื่อนไหวได้ อุปกรณ์ที่ต้องการใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรควรมีคุณสมบัติที่สามารถสื่อสารในระยะไกลได้ เป็นต้น
    • กำหนดงบประมาณก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์ IoT และ IIoT
    • พิจารณาความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ IoT กับระบบอื่น ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ระบบคลาวด์ ระบบฐานข้อมูล และระบบเครือข่าย
    • อุปกรณ์ IoT และ IIoT ต้องมีระบบความปลอดภัยที่ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต

    จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี IoT และ IIoT อุปกรณ์ Automation เข้ามามีบทบาทสำคัญในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมาก โดยสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด

    RS ผู้นำด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ จำหน่ายอุปกรณ์ Automation เทคโนโลยี IoT และ IIoT ในอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อให้กระบวนการทำงานในโรงงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินค้าทุกชิ้นของเรารับประกันคุณภาพ และมีให้เลือกหลากหลาย สามารถเลือกใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับงานได้ตามต้องการ สั่งซื้อสะดวกผ่านเว็บไซต์ หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย

    สินค้าขายดี

    Turck บริษัทชั้นนำระดับโลกที่จำหน่ายอุปกรณ์อัตโนมัติ

    Turck

    Turck บริษัทชั้นนำระดับโลกที่จำหน่ายอุปกรณ์อัตโนมัติต่าง ๆ (Automation & Control Gear) ครอบคลุมการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย

    ดูสินค้า

    Carlo Gavazzi ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำ

    Carlo Gavazzi

    Carlo Gavazzi ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำที่ก่อตั้งมานานกว่า 85 ปี จำหน่ายผลิตภัณฑ์เซนเซอร์ที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากหลากหลายสถาบัน ช่วยยกระดับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ

    ดูสินค้า

    Omron บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์อัตโนมัติ

    Omron

    Omron บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation & Control Gear) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทุกอุตสาหกรรม

    ดูสินค้า