การค้าหาล่าสุด / Recently searched
      • เผยแพร่เมื่อ 9 เม.ย. 2567
      • แก้ไขครั้งล่าสุด 9 เม.ย. 2567
    • 1 นาที

    มอเตอร์โรงงาน 101: มอเตอร์ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร

    การเลือกมอเตอร์ให้ตอบโจทย์คือสิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้ แต่ถ้ายังไม่รู้ บทความนี้จะมาอธิบายว่ามอเตอร์ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร รวมถึงวิธีเลือก ติดตามเลย

    RS marketing banner

    ถ้าเปรียบโรงงานอุตสาหกรรมคือร่างกายมนุษย์ มอเตอร์ก็คงเป็นอวัยวะสำคัญอย่าง “หัวใจ” เพราะอุปกรณ์ชิ้นนี้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเครื่องจักร อุปกรณ์ สายพานการผลิต และระบบต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม มอเตอร์ก็มีทั้ง AC Motor กับ DC Motor คำถามคือมอเตอร์ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร แล้วผู้ประกอบการจะเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งาน ข้อสงสัยเหล่านี้ บทความนี้จะมาช่วยไขให้กระจ่าง ติดตามได้เลย

    มอเตอร์ AC สีฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

    ประเภทของมอเตอร์

    มอเตอร์ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยสามารถพบได้ในอุปกรณ์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กไปจนถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม และหลัก ๆ แล้วมอเตอร์จะมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ มอเตอร์ AC กับ มอเตอร์ DC

    มอเตอร์ AC

    มอเตอร์ AC หรือมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ คืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current: AC) ให้เป็นพลังงานกล มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า และยานพาหนะต่าง ๆ
    AC Motor มีหลักการทำงานโดยอาศัยหลักการของการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ สเตเตอร์ (Stator) และโรเตอร์ (Rotor) ซึ่งเมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับให้แก่ขดลวดสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนขึ้น จากนั้น สนามแม่เหล็กหมุนนี้ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวดโรเตอร์ นำไปสู่การสร้างสนามแม่เหล็กของตัวเอง ได้ผลลัพธ์เป็นพลังงานกลที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

    ประเภทของมอเตอร์ AC

    AC Motor มีกี่ชนิด? คำตอบคือ หลัก ๆ แล้วจะมีด้วยกัน 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก: เป็นมอเตอร์ AC ที่นิยมใช้มากที่สุด โครงสร้างเรียบง่าย ทนทาน ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย เหมาะกับงานทั่วไป

    มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบโรเตอร์พัน: มีประสิทธิภาพการควบคุมความเร็วที่ดีกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก เหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมความเร็ว เช่น ลิฟต์ เครน

    มอเตอร์ซิงโครนัส: ทำงานด้วยความเร็วที่คงที่ เหมาะกับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น เครื่องจักรกลึง เครื่องปั่นไฟ

    มอเตอร์ DC

    ตรงกันข้ามกับมอเตอร์กระแสสลับ เนื่องจาก DC Motor คือมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current: DC) เป็นพลังงานกล ทำงานโดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่พันอยู่บนแกนกลางจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น จากนั้นสนามแม่เหล็กนี้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบกับสนามแม่เหล็กถาวรที่อยู่ภายในมอเตอร์ ทำให้เกิดแรงบิดที่แกนกลาง ส่งผลให้มอเตอร์หมุน

    ประเภทของมอเตอร์ DC

    • มอเตอร์ DC แปรงถ่าน: เป็นมอเตอร์ DC แบบดั้งเดิมที่มีแปรงถ่านและคอมมิวเตเตอร์ มอเตอร์ชนิดนี้มีราคาถูก แต่มีเสียงรบกวนและสึกหรอได้ง่าย
    • มอเตอร์ DC ไร้แปรงถ่าน: มอเตอร์ชนิดนี้ไม่มีแปรงถ่านและคอมมิวเตเตอร์ โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมทิศทางของกระแสไฟฟ้า จึงมีราคาแพงกว่า แต่เสียงรบกวนก็น้อยกว่าและสึกหรอช้ากว่าเช่นกัน
    • มอเตอร์ Stepper: มอเตอร์ชนิดนี้หมุนเป็นขั้นตอน มักใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น เครื่องพิมพ์ 3 มิติ
     มอเตอร์ DC สำหรับการใช้งานภายในโรงงาน

    มอเตอร์ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร


    มอเตอร์ AC

    มอเตอร์ DC

    แหล่งจ่ายไฟ

    ทำงานกับไฟฟ้ากระแสสลับ (220V)

    ทำงานกับไฟฟ้ากระแสตรง (12V)

    โครงสร้าง

    โครงสร้างซับซ้อน มีขดลวดโรเตอร์และสเตเตอร์

    โครงสร้างเรียบง่าย มีขดลวดโรเตอร์เพียงตัวเดียว

    แรงบิด

    แรงบิดสูง เหมาะกับงานหนัก

    แรงบิดปานกลาง เหมาะกับงานเบา

    เสียงรบกวน

    เสียงดังกว่ามอเตอร์ DC

    เสียงเงียบ เหมาะกับงานที่ต้องการความเงียบ

    การควบคุมความเร็ว

    ควบคุมความเร็วได้ยาก

    ควบคุมความเร็วได้ง่ายกว่า

    รูปแบบการใช้งาน

    เหมาะกับงานที่ต้องการแรงบิดสูง ความเร็วคงที่ ทนทาน และใช้งานหนัก เช่น ปั๊มน้ำ พัดลม เครื่องปรับอากาศ สายพานลำเลียง

    เหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมความเร็วรอบ ตอบสนองฉับไว ควบคุมทิศทางได้ง่าย เช่น ยานพาหนะไฟฟ้า โรบอต เครื่องจักรกลึง

    งบประมาณ

    โดยทั่วไป ราคาถูกกว่ามอเตอร์ DC

    มีราคาสูงกว่า แต่ควบคุมได้แม่นยำ ใช้งานหลากหลาย

    RS ครบครันด้านมอเตอร์ และอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม

    เมื่อรู้กันไปแล้วว่า มอเตอร์ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร รวมถึงมีหลักการทํางานอย่างไร ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการที่มองหามอเตอร์คุณภาพสูง ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ AC หรือ DC รวมถึงอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติต่าง ๆ ที่ RS ก็มีจำหน่ายแบบครบครัน ตอบทุกโจทย์ความต้องการ เพราะกว่า 84 ปีมาแล้วที่ RS ให้บริการด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ เราดูแลลูกค้าอุตสาหกรรมมากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ด้วยสินค้าคุณภาพสูง และการให้บริการอย่างมืออาชีพ เรามีเครื่องมือวัดด้านอุตสาหกรรมและอุปกรณ์เสริมในการควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่หลากหลายและครอบคลุมมากที่สุด ตอบโจทย์ทุกความต้องการ รวมถึงสินค้าของเรามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน แข็งแรงทนทาน และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยสามารถเลือกซื้อสินค้ากว่า 700,000 รายการของเราได้ตลอด 24 ชม. ผ่านเว็บไซต์ หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย

    สินค้าขายดี

    Siemens จำหน่ายมอเตอร์ AC และ DC

    Siemens

    Siemens บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า จำหน่ายมอเตอร์และอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ (Automation & Control Gear) ที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การใช้งานในอุตสาหกรรม

    ดูสินค้า

    Schneider Electric จำหน่ายมอเตอร์

    Schneider Electric

    Schneider Electric ผู้นำด้านระบบออโตเมชัน จำหน่ายอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ (Automation & Control Gear) สำหรับงานอุตสาหกรรม มีประสิทธิภาพสูง ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ช่วยควบคุมการทำงานของระบบไฟฟ้าในโรงงาน และยกระดับความปลอดภัยให้ธุรกิจ

    ดูสินค้า

    Omron จำหน่ายมอเตอร์ DC และ AC

    Omron

    Omron บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation & Control Gear) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทุกอุตสาหกรรม

    ดูสินค้า