- เผยแพร่เมื่อ 14 มี.ค. 2567
- แก้ไขครั้งล่าสุด 14 มี.ค. 2567
- 1 นาที
คู่มือการใช้งานพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensors)
รู้ทุกเรื่องที่ควรรู้กับ Proximity Sensor คืออะไร มีหน้าที่การใช้งานยังไง มีกี่ประเภท สำคัญอย่างไรกับแวดวงการตรวจจับวัตถุและงานอุตสาหกรรม


คู่มือการใช้งานของเราจะช่วยให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) ว่ามีการใช้งานอย่างไร และมีกี่ประเภท
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) คืออะไร
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) เป็นส่วนประกอบที่ออกแบบมาเพื่อใช้ตรวจจับโลหะหรือสิ่งของโดยไม่ต้องสัมผัสทางกายภาพ เซ็นเซอร์นี้เป็นอุปกรณ์แบบไร้สัมผัส ใช้งานได้ดีกับสิ่งของวัตถุที่ละเอียดอ่อน หรือแตกหักได้ง่ายหากเจอการสัมผัสโดยเซ็นเซอร์ประเภทอื่น
ด้วยการปฏิบัติการณ์แบบไร้สัมผัสนี้เอง ทำให้ส่วนใหญ่พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor)** **มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน (ยกเว้นประเภทเซ็นเซอร์แบบแม่เหล็ก) เนื่องมาจากใช้สารกึ่งตัวนำเพื่อแสดงผลลัพธ์แบบไร้สัมผัส
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) ออกแบบขึ้นเพื่อรองรับการตอบสนองด้วยความเร็วสูง ระหว่างช่วงที่เซ็นเซอร์สัมผัสวัตถุกับจุดแสดงผล ซึ่งประเภทของเทคโนโลยีการตรวจจับที่หลากหลายนั้นต่างถูกสรรค์สร้างมาเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน
พร็อกซิมิตี้สวิตซ์ (Proximity Switches) คืออะไร
พร็อกซิมิตี้สวิตซ์ (Proximity switches) บ่อยครั้งใช้เรียกแทนพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ แต่แท้จริงมีความแตกต่างกัน โดยพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์เป็นส่วนประกอบที่ใช้ตรวจจับวัตถุในระยะตรวจจับโดยไร้การสัมผัส ส่วนพร็อกซิมิตี้สวิตซ์นั้นเป็นส่วนที่ใช้เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าเมื่อเซ็นเซอร์ตรวจจับเจอวัตถุ
หลักการทํางานของพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor)
กล่าวโดยง่าย Proximity Sensor มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลการมีอยู่หรือการเคลื่อนไหวของวัตถุไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยผลจะขึ้น **ON **เมื่อวัตถุเข้าไปยังช่วงระยะตรวจจับ นอกจากนี้ พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ยังมีการทำงานที่แตกต่างกันตามประเภทต่าง ๆ นี้
หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ตรวจจับชนิดความจุไฟฟ้า
เซ็นเซอร์ที่ตรวจจับชนิดความจุไฟฟ้านั้น ทำงานโดยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของความจุไฟฟ้าระหว่างเซ็นเซอร์กับวัตถุ โดยมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระยะทางและขนาดของวัตถุที่มีผลกับปริมาณความจุไฟฟ้า ซึ่งเซ็นเซอร์ประเภทนี้สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของความจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นได้
หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ตรวจจับชนิดเหนี่ยวนำ
เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะทำงานโดยตรวจจับกระแสไฟฟ้าไหลวนที่ทำให้เกิดการสูญเสียของพลังงานแม่เหล็ก สร้างโดยสนามแม่เหล็กภายนอกที่พื้นผิวเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า ซึ่งคอยล์ตรวจจับจะสร้างสนามแม่เหล็กกระแสสลับ (AC) และตรวจจับความเปลี่ยนแปลงการต้านทานอันเป็นผลมาจากกระแสไหลวนเหนี่ยวนำ
หลักการทำงานของพร็อกซิมิตี้สวิตซ์แบบแม่เหล็ก
กล่าวโดยง่ายและไม่ซับซ้อน พร็อกซิมิตี้สวิตซ์แบบแม่เหล็ก คือส่วนปลายสวิตซ์นั้นทำงานโดยแม่เหล็ก เมื่อสวิตซ์เปิด เซ็นเซอร์ก็เปิดการใช้งานเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity Sensor) ไม่ได้รับผลกระทบจากสีพื้นผิวของวัตถุที่ตรวจพบ โดยอาศัยการเคลื่อนไหวทางกายภาพและการเคลื่อนไหวของวัตถุเพียงอย่างเดียว ดังนั้น สีของวัตถุจึงไม่มีบทบาทต่อประสิทธิภาพของเซ็นเซอร์
การใช้งานของพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์สามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมและประเภทการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานที่จำเป็นต้องตรวจจับวัตถุในระยะที่ต้องการ ซึ่งรวมไปถึงประเภทงาน ดังนี้
- การตรวจจับตำแหน่งของวัตถุตามมาตรฐาน
- การขนส่ง โลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
- การตรวจสอบและการประกันคุณภาพ
- การควบคุมการทำงาน
- ระดับการตรวจจับ
- การแปรรูปและการผลิตอาหาร
- การเกษตรกรรม
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์นั้นสามารถใช้ในสภาพแวดล้อมที่ใช้น้ำและน้ำมันได้ ซึ่งเป็นข้อดีที่ต่างจากเซ็นเซอร์ประเภทอื่น ๆ โดยเซ็นเซอร์ไร้สัมผัสแบบความจุสามารถตรวจจับตัวกลางอย่างเช่น น้ำ เรซิน และโลหะ ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าคงที่ไดอิเล็กทริกของวัตถุ เซ็นเซอร์แต่ละประเภทนั้นมีความเหมาะสมกับวัตถุที่ต่างกัน
- พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้า - โลหะ ของเหลว น้ำ เรซิน และผง
- พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ - โลหะ รวมถึงอะลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง และเหล็ก
- พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบแม่เหล็ก - แม่เหล็ก
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์เหมาะสำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่อากาศแปรปรวน หรืออากาศเย็นจัด หรือร้อนจัด ถึงแม้ว่าความสามารถในการเทียบเคียงอุณหภูมินั้นขึ้นอยู่กับโมเดลแบบเฉพาะ แต่โดยทั่วไปพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ใช้ได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ -50 องศาเซลเซียล ถึง 100 องศาเซลเซียล
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์มีกี่ประเภท
ประเภทของพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบ่งออกได้เป็นสามประเภทหลัก คือ แบบความจุไฟฟ้า อัลตราโซนิกส์ และแบบชนิดเหนี่ยวนำ โดยแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่ต่างกันซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละประเภทได้ด้านล่างนี้
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้า
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้า มีคุณสมบัติการกระจายสัญญาณแบบคู่ขนาน เช่นเดียวกับตัวเก็บประจุมาตรฐาน ระบบจะเริ่มทำงานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของวัตถุในตัวเก็บประจุ หรือเซ็นเซอร์ถูกกระตุ้น พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้าออกแบบมาเพื่อวัสดุประเภทที่ไม่ใช่เหล็กหรือใช้งานในระยะใกล้ เช่น ระดับการตรวจจับและการเฝ้าระวัง
เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้านั้นจะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมและการรบกวนจากสัญญาณเซ็นเซอร์อื่น ๆ ได้เช่นกัน รวมไปถึงอุณหภูมิแวดล้อมและวัตถุใกล้เคียง ดังนั้นข้อควรระวังของการติดตั้งเซ็นเซอร์ประเภทนี้จึงควรหลีกเลี่ยงการรบกวนจากวัตถุหรือเซ็นเซอร์อื่น ๆ
ข้อควรพิจารณาในการเลือกพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้า
มีหลากหลายปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกใช้เซ็นเซอร์ประเภทนี้ ข้อสำคัญคือเงื่อนไขการใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีปัจจัยให้พิจารณาดังนี้
- ตัวโครงสร้าง (Barrel หรือ Block)
- ประเภทของเอาท์พุท (NPN หรือ PNP)
- ฟังก์ชันของเอาท์พุท (NO หรือ NC)
- ระยะการตรวจจับและเซ็นเซอร์
- ประเภทของเป้าหมาย เช่น การสัมผัสแบบใด
- เรตติง IP
- ประเภทการติดตั้ง (Flush หรือ Non-flush)
- แบบที่มีการป้องกัน การป้องกันบางส่วน และไม่มีการป้องกัน
- ระยะเวลาการส่งผล
- ความเป็นไปได้ในการใช้งาน
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบอัลตราโซนิกส์
Ultrasonic Proximity Sensor คือเซ็นเซอร์แบบอัลตราโซนิกส์ ใช้สำหรับคลื่นเสียงที่จะสะท้อนออกหรือซึมซับโดยวัตถุในช่วงระยะเวลาการตรวจจับ โดยสามารถใช้งานได้กับวัสดุหรือประเภทวัตถุที่หลากหลาย เซ็นเซอร์แบบอัลตราโซนิกส์ยังใช้งานได้ด้วยความเร็วสูง จึงเหมาะกับการตรวจจับในพื้นที่ระยะไกลกว่าประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับวัตถุที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การควบคุมระดับที่ต่อเนื่อง และระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม
ข้อควรพิจารณาในการเลือกพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบอัลตราโซนิกส์
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบอัลตราโซนิกส์ มีให้เลือกหลากหลายแบบ ซึ่งการเลือกให้ตรงตามความต้องการใช้งานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยควรพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้
- ประเภทของเอาท์พุท (NPN หรือPNP)
- ตัวกำเนิดและความถี่ของคลื่นเสียง
- เรตติง IP
- แบบที่มีการป้องกัน การป้องกันบางส่วน และไม่มีการป้องกัน
- วัตถุประสงค์ในการใช้งาน
- ตัวโครงสร้าง
- ระยะของการตรวจจับ
- ประเภทของเป้าหมาย เช่น การสัมผัสแบบใด
- ประเภทการติดตั้ง (Flush หรือ Non-flush)
- ระยะเวลาการส่งผล

พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบเหนี่ยวนำ
Inductive proximity sensor คือ พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบเหนี่ยวนำ ประกอบด้วยแกนกลางเหล็กพันรอบขดลวด เมื่อตัววัตถุอยู่ในระยะของเซ็นเซอร์ ความเหนี่ยวนำไฟฟ้าของคอยล์จะเปลี่ยนแปลงไปและทำให้เซ็นเซอร์ทำงาน ส่วนประกอบเหล่านี้ใช้กับวัตถุกลุ่มโลหะแบบระยะใกล้ และบางประเภทใช้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบเหนี่ยวนำนั้นสามารถได้รับผลกระทบจากเซ็นเซอร์ตัวอื่นและสภาพแวดล้อมโดยรอบ คล้ายกับพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้า เซ็นเซอร์ประเภทนี้จึงควรติดตั้งอย่างระมัดระวังโดยไม่ให้กระทบกับเซ็นเซอร์อื่นและวัตถุโลหะ
ข้อควรพิจารณาในการเลือกพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบเหนี่ยวนำ
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แต่ละประเภท มีตัวแปรมากมายที่มีผลต่อการเลือก ดังนั้นการเลือกพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- การใช้งาน
- แบบที่มีการป้องกัน การป้องกันบางส่วน และไม่มีการป้องกัน
- เรตติง IP
- ความถี่ของการปรับเปลี่ยน
- ประเภทของเอาท์พุท (NPN หรือPNP)
- ระยะเวลาในการส่งผล
- ประเภทการติดตั้ง (Flush หรือ Non-flush)
- ประเภทของเป้าหมาย เช่น การสัมผัสแบบใด
- ระยะของการตรวจจับ
- ตัวโครงสร้าง
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบตรวจจับวัตถุประเภทแม่เหล็ก
เซ็นเซอร์แบบตรวจจับวัตถุประเภทแม่เหล็ก ออกแบบให้ตรวจจับการมีอยู่ของวัตถุ โดยการใช้สนามแม่เหล็กภายใน ซึ่งทำงานกับวัสดุแม่เหล็กเฟอร์โร (Ferromagnetic) เท่านั้น ส่วนประกอบจำพวกนี้มีความเร็วสูงและเหมาะกับการตรวจวัดสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ข้อควรพิจารณาในการเลือกพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบตรวจจับวัตถุประเภทแม่เหล็ก
การเลือกพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบตรวจจับวัตถุประเภทแม่เหล็กอย่างเหมาะสมที่สุด คือ ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสำหรับการใช้งาน ปัจจัยนี้ช่วยให้เลือกเซ็นเซอร์ได้ต้องกับความต้องการมากที่สุด
- ตัวโครงสร้าง
- ระยะของการตรวจจับ
- ประเภทของเป้าหมาย เช่น การสัมผัสแบบใด
- ตำแหน่งแม่เหล็ก
- ความไวของแม่เหล็ก
- เรตติง IP
- ประเภทของเอาท์พุท
- ความถี่ของการปรับเปลี่ยน
BRAND FEATURES:
Turck Banner
Turck Banner บริษัทชั้นนำระดับโลกที่จำหน่ายอุปกรณ์อัตโนมัติต่าง ๆ (Automation & Control Gear) ครอบคลุมการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย
Pepperl + Fuchs
Pepperl + Fuchs บริษัทชั้นนำระดับโลกสัญชาติเยอรมันที่เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ (Automation & Control Gear) ที่มีประสิทธิภาพสูง ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ช่วยควบคุมการทำงานของระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมมาแล้วทั่วโลก