การค้าหาล่าสุด / Recently searched
      • เผยแพร่เมื่อ 11 เม.ย. 2567
      • แก้ไขครั้งล่าสุด 11 เม.ย. 2567
    • 1 นาที

    ดูมิเตอร์ไฟฟ้าอย่างไรให้ได้ประโยชน์และปลอดภัย?

    ยิ่งการอ่านมิเตอร์ไฟฟ้ามีความแม่นยำมากเท่าไร ความปลอดภัยในโรงงานก็ยิ่งมากเท่านั้น บทความนี้จึงจะมาอธิบายเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมิเตอร์ไฟฟ้า ติดตามได้เลย

    RS marketing banner

    “มิเตอร์ไฟฟ้า” คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในบ้าน อาคาร หรือสถานประกอบการ โดยหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดค่าไฟฟ้าบนมิเตอร์คือ กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ซึ่งหมายถึง ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ 1 กิโลวัตต์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ดังนั้น ด้วยหน้าที่เช่นนี้ มิเตอร์ไฟฟ้าจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำงานในโรงงาน ที่ทุกกระบวนการจำเป็นต้องมีความแม่นยำด้านปริมาณพลังงานที่ใช้ไป จึงควรมีคนที่รู้วิธีการอ่านมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้ทราบว่าระบบไฟฟ้าทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาทำหน้าที่เป็นคู่มืออธิบายการดูมิเตอร์ไฟฟ้าฉบับเข้าใจง่าย ติดตามได้เลย

    พนักงานในโรงงานกำลังดูมิเตอร์ไฟฟ้า

    ประเภทของมิเตอร์ไฟฟ้า

    มิเตอร์ไฟฟ้าแบบจานหมุน

    มิเตอร์ไฟฟ้าแบบจานหมุน ถือเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมายาวนาน ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

    • จานหมุน: ทำหน้าที่หมุนตามกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
    • ตัวเลข: แสดงค่าการใช้ไฟฟ้า

    โดยการขยับของหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้าประเภทนี้จะอาศัยหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ที่เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดภายในมิเตอร์ จะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ซึ่งสนามแม่เหล็กนี้จะเหนี่ยวนำให้จานหมุนไป ความเร็วในการหมุนของจานหมุนจะแปรผันตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก จานหมุนจะหมุนเร็ว

    ข้อดีของมิเตอร์ไฟฟ้าแบบจานหมุน

    • มีราคาถูก
    • ใช้งานง่าย
    • ทนทาน

    ข้อจำกัดของมิเตอร์ไฟฟ้าแบบจานหมุน

    • มีความแม่นยำน้อย
    • การอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าทำได้ยาก

    มิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิทัล

    เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น มิเตอร์ไฟฟ้าก็มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน จากจานหมุน กลายเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิทัลที่ทำให้การดูมิเตอร์ไฟฟ้าสะดวกยิ่งขึ้น เพราะอาศัยหลักการแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณดิจิทัล โดยชิปประมวลผลจะทำการคำนวณค่าการใช้ไฟฟ้า และแสดงผลบนหน้าจอ LCD

    ข้อดีของมิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิทัล

    • มีความแม่นยำสูง
    • อ่านค่าง่าย
    • ทนทาน
    • มีฟังก์ชันการใช้งานเพิ่มเติม เช่น บันทึกค่าการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง

    ข้อจำกัดของมิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิทัล

    • มีราคาแพงกว่ามิเตอร์ไฟฟ้าแบบจานหมุน

    การเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับโรงงาน

    สำหรับการใช้งานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก มิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิทัลที่บอกหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำและทนทานสูง จึงเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์มากกว่า แต่นอกจากประเภทแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงในการเลือกมิเตอร์ไฟฟ้ามาใช้งานด้วย ดังต่อไปนี้

    • โหลดไฟฟ้า: เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ “โอเวอร์โหลด” ที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุในโรงงาน จึงต้องเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสม โดยคำนวณโหลดไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Demand) ของโรงงาน โดยรวมทั้งส่วนของเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า แสงสว่าง และอื่น ๆ เพื่อหาคำตอบว่าขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไรที่รองรับการใช้งานได้เพียงพอ ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมเผื่อโหลดไฟฟ้าสำหรับการขยายกิจการในอนาคตด้วย
    • ระบบไฟฟ้า: ตรวจสอบระบบไฟฟ้าของโรงงานว่าเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 เฟส หรือ 4 เฟส จากนั้นให้เลือกมิเตอร์ไฟฟ้าที่รองรับระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน
    • มาตรฐาน: ควรเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มอก. 1249-2553
    ช่างกำลังดูมิเตอร์ไฟฟ้าภายในโรงงาน

    วิธีการอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของระบบไฟฟ้า

    ขั้นตอนที่ 1: จดค่าบนหน้าปัด

    มิเตอร์แบบดิจิทัล: จดตัวเลขทั้งหมดที่แสดงบนหน้าจอ

    มิเตอร์แบบเข็ม:

    • จดตัวเลขจากช่องที่มีเข็มชี้ตรงขีดบอกค่า
    • เริ่มจากช่องที่มีหน่วยเป็น kWh สูงสุด ไปยังช่องที่มีหน่วยต่ำสุด
    • ไม่ต้องจดตัวเลขหลังจุดทศนิยม

    ขั้นตอนที่ 2: เปรียบเทียบค่ากับเดือนก่อนหน้า

    ขั้นตอนต่อไปคือ การเปรียบเทียบหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้า โดยดูว่าค่า kWh ที่จดได้กับค่า kWh ของเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ รวมถึงควรหาค่าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าต่อวัน เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะช่วยวิเคราะห์แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าและตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้

    ขั้นตอนที่ 3: วิเคราะห์ค่าความผิดปกติ

    ถ้าข้อมูลจากการอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าบ่งบอกว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้ง ๆ ที่ระบบการทำงาน เวลา จำนวนพนักงาน และกำลังการผลิตเหมือนเดิมทุกอย่าง ต้องรีบตรวจสอบหาความผิดปกติอย่างเร่งด่วน ตัวอย่างเช่น

    • ตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ที่ทำงานผิดปกติหรือไม่
    • ตรวจสอบว่ามีการรั่วไหลของไฟฟ้าหรือไม่
    • ตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานถูกตัดไฟหรือไม่
    • ตรวจสอบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าทำงานผิดพลาดหรือไม่

    RS จำหน่ายมิเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ตรวจวัดโรงงานครบครัน

    ยิ่งการอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าแม่นยำเท่าไร ความปลอดภัยในโรงงานก็ยิ่งมากเท่านั้น และการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ก็ต้องมีเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าสำหรับงานอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน โดยขอแนะนำที่ RS เพราะกว่า 84 ปีมาแล้วที่ให้บริการด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ เราดูแลลูกค้าอุตสาหกรรมมากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ด้วยสินค้าคุณภาพสูง และการให้บริการอย่างมืออาชีพ เรามีเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ตลอดจนอุปกรณ์เสริมในการควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่หลากหลายและครอบคลุมมากที่สุด ตอบโจทย์ทุกความต้องการ รวมถึงสินค้าของเรามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน แข็งแรงทนทาน และสามารถใช้งานได้ยาวนาน สามารถเลือกซื้อสินค้ากว่า 700,000 รายการของเราได้ตลอด 24 ชม. ผ่านเว็บไซต์ หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย

    สินค้าขายดี

    มิเตอร์วัดไฟฟ้าแบรนด์ Fluke

    Fluke

    Fluke ผู้ผลิตชั้นนำจากประเทศอเมริกา จำหน่ายเครื่องมือวัดสำหรับอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของความแม่นยำ และได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจชั้นนำทั่วโลก

    Druck ผู้ผลิตเครื่องวัดและทดสอบทางไฟฟ้า

    Druck

    Druck ผู้ผลิตเครื่องวัดและทดสอบทางไฟฟ้าคุณภาพสูง ที่สามารถทำงานได้อย่างเสถียรและแม่นยำ ตอบโจทย์การใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม

    จำหน่ายมิเตอร์ไฟฟ้าจาก Chauvin Arnoux

    Chauvin Arnoux

    Chauvin Arnoux บริษัทผู้ผลิตชั้นนำจากประเทศฝรั่งเศส ที่เชี่ยวชาญในด้านการผลิตเครื่องมือวัดสำหรับมืออาชีพ รองรับการใช้งานในทุกอุตสาหกรรม

    ลิงก์ที่เกี่ยวข้อ