เมื่อเรารู้จักกับโครงสร้างหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส และหลักการทำงานกันไปแล้ว มาดูกันว่า หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส มีกี่แบบ มีกี่ขนาด
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบน้ำมัน (Oil-Immersed Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบน้ำมัน จะมาพร้อมกับช่องเก็บน้ำมันในตัว ซึ่งช่องเก็บน้ำมันนี้จะทำหน้าที่ระบายความร้อน เพื่อช่วยให้หม้อแปลงสามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารขนาดใหญ่
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง (Dry-Type Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง คือ หม้อแปลงที่ใช้สารเรซินในการทำฉนวน ซึ่งเรซินนั้นมีคุณสมบัติในการรักษาความเย็น และทนทานต่อการติดไฟ จึงสามารถระบายความร้อนได้ดี และมีต้นทุนในการบำรุงรักษาที่ต่ำ โดยหม้อแปลงชนิดนี้นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบติดแผ่น (Pad-Mounted Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบติดแผ่น คือ หม้อแปลงไฟฟ้าที่ถูกติดตั้งอยู่บนพื้น หรืออยู่บนฐานที่เป็นแผ่น ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงดันสูงให้เป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำ และจ่ายไฟฟ้าจากหม้อแปลงไปยังจุดที่อยู่ไกลออกไป เหมาะกับการใช้งานเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังพื้นที่ที่ไม่สะดวกต่อการติดตั้งหม้อแปลง
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบตู้ (Unit Substation Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบตู้ คือ หม้อแปลงไฟฟ้าที่รวมอยู่ในตู้เดียวกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สวิตช์ไฟ หรือ เบรกเกอร์ ตอบโจทย์การใช้งานในพื้นที่จำกัด
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบปรับแรงดัน (Auto-Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบปรับแรงดัน คือ หม้อแปลงไฟฟ้าที่มาพร้อมกับตัวปรับแรงดันอัตโนมัติ สามารถปรับเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าไปพร้อม ๆ กับการจ่ายกระแสไฟฟ้าตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องปิดสวิตช์ไฟ เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบบไฟฟ้าขัดข้อง ไฟตก หรือไฟกระชาก ตัวปรับแรงดันนี้จะทำงานทันที ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้า สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง