จำหน่ายเซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน คุ้มค่า คุ้มราคา | RS
การค้าหาล่าสุด / Recently searched

    Vibration Sensors

    รู้รอบเรื่องเซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนในเครื่องจักร

    เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Sensor) หรือที่เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า เพียโซเซ็นเซอร์ (Piezoelectric Sensor) คือ เครื่องมืออเนกประสงค์ที่ใช้สำหรับตรวจวัดกระบวนการทำงานต่าง ๆ เซ็นเซอร์ชนิดนี้ทำงานโดยอาศัยหลักการของผลเพียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric Effect) ซึ่งสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน การเร่งความเร็ว หรืออุณหภูมิ และเปลี่ยนค่าที่วัดได้ให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า นอกจากนี้ เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนยังสามารถใช้ในการตรวจสอบกลิ่นในอากาศ ด้วยการวัดค่าการสั่นพ้องและค่าความจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

    เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการวัดปริมาณและความถี่ของแรงสั่นสะเทือนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถนำไปใช้ในการตรวจจับและเฝ้าระวังปัญหาต่าง ๆ เช่น ความไม่สมดุลของเครื่องจักร ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเสียหายหรือการชำรุด

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการทำงาน อาจมีความแตกต่างกันอย่างมาก จึงควรเลือกเซ็นเซอร์ที่สามารถวัดช่วงแรงสั่นสะเทือนให้เหมาะกับงานของคุณ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ และสอดคล้องกับความต้องการในการใช้งาน

    Vibration Sensor มีหลักการทำงานอย่างไร ?

    Vibration Sensor ทำงานโดยการแปลงพลังงานกล (แรงสั่นสะเทือน) ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยมีกระบวนการทำงานดังนี้

    การตรวจจับแรงสั่นสะเทือน (Vibration Detection)

    เซ็นเซอร์จะตรวจจับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในระบบหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจมาจากการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการเฉพาะใด ๆ 

    การแปลงพลังงาน (Energy Conversion)

    • ในเซ็นเซอร์ Piezoelectric จะใช้ผลึกเพียโซอิเล็กทริกในการแปลงแรงกดดันหรือแรงสั่นสะเทือนให้เป็นแรงดันไฟฟ้า
    • ในเซ็นเซอร์ประเภทอื่น เช่น Capacitive Sensors จะใช้การเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้าในการตรวจจับแรงสั่นสะเทือน

    การประมวลผลสัญญาณ (Signal Processing)

    สัญญาณที่ได้จากเซ็นเซอร์ จะถูกส่งต่อไปยังระบบประมวลผล เพื่อวิเคราะห์ค่าความถี่และแอมพลิจูดของแรงสั่นสะเทือน

    การแสดงผล (Output Display)

    ข้อมูลที่ได้จะถูกแสดงในรูปแบบดิจิทัลหรือแอนะล็อก เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์สถานะของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้อย่างสะดวก

    เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือน มีกี่ชนิด

    เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามเทคโนโลยีและหลักการทำงานที่ใช้ ดังนี้

    Piezoelectric Sensors (เพียโซอิเล็กทริกเซ็นเซอร์)

    • ใช้ผลึกเพียโซอิเล็กทริกในการแปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
    • มีความแม่นยำสูง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการวัดแรงสั่นสะเทือนในช่วงความถี่กว้าง

    Capacitive Sensors (เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้า

    • ทำงานโดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของค่าความจุไฟฟ้าระหว่างตัวนำไฟฟ้า
    • เหมาะสำหรับการตรวจจับแรงสั่นสะเทือนในระบบที่มีแรงสั่นสะเทือนต่ำ

    Resistive Sensors (เซ็นเซอร์แบบความต้านทาน)

    • วัดการเปลี่ยนแปลงของแรงต้านทานที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือน
    • ใช้งานง่ายและมีราคาประหยัด

    Optical Sensors (เซ็นเซอร์แบบแสง)

    • ใช้แสงเลเซอร์ในการตรวจจับแรงสั่นสะเทือน
    • มีความแม่นยำสูงและเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่สามารถติดตั้งเซ็นเซอร์สัมผัสได้

    Magnetic Sensors (เซ็นเซอร์แบบแม่เหล็ก)

    • ใช้การเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็กเพื่อตรวจจับแรงสั่นสะเทือน
    • เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใช้สนามแม่เหล็ก

    Strain Gauge Sensors (เซ็นเซอร์แบบวัดแรงเครียด)

    • ใช้การเปลี่ยนแปลงแรงเครียดของวัสดุในการวัดแรงสั่นสะเทือน
    • นิยมใช้ในงานที่ต้องการวัดแรงสั่นสะเทือนร่วมกับการวิเคราะห์โครงสร้าง

    งานประเภทใดบ้างที่ใช้เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน หรือเซ็นเซอร์ Piezoelectric

    อุตสาหกรรมการแพทย์

    เพียโซเซ็นเซอร์มักนิยมนำไปใช้เพื่อตรวจวัดการทำงานของเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดการเต้นของหัวใจและเครื่องมือผ่าตัด เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการทำงาน

    งานวิศวกรรม

    วิศวกรในสายงานต่าง ๆ ใช้เซ็นเซอร์ชนิดนี้ในการวิเคราะห์และตรวจสอบแรงสั่นสะเทือนในเครื่องจักร เพื่อประเมินและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

    อุตสาหกรรมยานยนต์

    เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือนมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะในการตรวจสอบแรงสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์และส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อนำค่าที่วัดได้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของยานพาหนะ

    งานนิวเคลียร์

    ในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนมักนำไปใช้เพื่อตรวจจับแรงสั่นสะเทือนที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบและโครงสร้างสำคัญ

    เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ?

    ค่าความต้านทานโอห์มที่แตกต่างกัน (Ohms Rating)

    เซ็นเซอร์แต่ละรุ่นมีค่าความต้านทานโอห์มที่แตกต่างกัน การเลือกเซ็นเซอร์ที่มีค่าโอห์มเหมาะสม จะช่วยให้การวัดมีความแม่นยำมากขึ้น

    ขนาดที่หลากหลาย (Various Sizes)

    เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนมีให้เลือกหลากหลายขนาด เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในพื้นที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องจักรขนาดเล็ก ไปจนถึงระบบขนาดใหญ่

    ค่าการวัดแรงสั่นสะเทือนสูงสุด (Maximum Vibration Reading)

    เซ็นเซอร์บางรุ่นสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้สูงสุดถึง 29,400 m/s² ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก

    ความแตกต่างระหว่าง Vibration Sensor และ Accelerometer

    Accelerometer

    Accelerometer คืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อวัดการเร่งความเร็วของวัตถุโดยเฉพาะ โดยสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของความเร็วในแกนต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัดแรงสั่นสะเทือนโดยตรง

    Vibration Sensor

    เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Sensor) คือเซ็นเซอร์ชนิดที่สามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ และยังสามารถวัดค่าการเร่งความเร็วได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น Vibration Sensor จึงถือเป็น Accelerometer ประเภทหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่องานที่เกี่ยวกับแรงสั่นสะเทือนโดยเฉพาะ

    สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อเซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน

    ช่วงแรงสั่นสะเทือนและความไว (Vibration Range and Sensitivity)

    • หากเครื่องจักรผลิตแรงสั่นสะเทือนที่มีค่าแอมพลิจูดสูง ควรเลือกเซ็นเซอร์ที่มีความไวต่ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ
    • หากแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่า 10 g ตามแบบ rms ควรเลือกเซ็นเซอร์ที่มีความไวประมาณ 100 mV/g

    ช่วงความถี่ (Frequency)

    การทราบช่วงความถี่ที่ต้องการวัดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเซ็นเซอร์แต่ละรุ่นออกแบบมาสำหรับช่วงความถี่เฉพาะ

    อุณหภูมิ (Temperature)

    อุณหภูมิที่สูงอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเซ็นเซอร์ จึงควรเลือกเซ็นเซอร์ที่ทนทานต่ออุณหภูมิต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

    การสัมผัสกับสารเคมีหรือเศษวัสดุ (Exposure to Chemicals or Debris)

    เซ็นเซอร์ที่ต้องสัมผัสสารเคมีหรือสิ่งสกปรกเป็นเวลานาน อาจมีปัญหาเรื่องความแม่นยำในการวัด และเสี่ยงต่อความเสียหาย ควรเลือกเซ็นเซอร์ที่สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมีหรือมีฝุ่นจับได้ 

    สภาพแวดล้อม (Environment)

    หากใช้งานในพื้นที่อันตราย ควรเลือกเซ็นเซอร์ที่ออกแบบมาสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พื้นที่ที่มีแก๊สไวไฟ

    ตำแหน่งการติดตั้ง (Sensor Location)

    เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนมีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย เช่น

    • ติดตั้งไว้ด้านบนเครื่องจักร
    • ติดตั้งไว้ด้านข้างเครื่องจักร
    • ติดตั้งไว้ด้านล่างเครื่องจักร

    การเลือกตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม จะช่วยให้การวัดมีความสะดวกและแม่นยำมากขึ้น

    RS จำหน่ายเซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนจากแบรนด์ชั้นนำที่คุณมั่นใจ ช็อปสะดวกทางออนไลน์

    RS ผู้นำด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ จำหน่ายเซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนในเครื่องจักร จากแบรนด์ชั้นนำ ที่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน เช่น Hauber Elektronik, TE Connectivity, Assemtech และแบรนด์ของเราเองอย่าง RS PRO โดยจำหน่าย Vibration Sensor ทั้งราคาปลีกและราคาส่ง สามารถเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้อย่างสะดวกตลอด 24 ชม. บนเว็บไซต์ พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมของคุณได้เลย

    132 สินค้าที่แสดงสำหรับ Vibration Sensors

    • RS Stock No. 455-3665
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. ASLS 2.0
    Each
    THB568.70
    Assemtech
    -
    250 mA
    24V
    -
    10Ω
    -
    18mm
    -
    -
    -20°C
    +85°C
    -
    • RS Stock No. 205-5817
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. VS-JV10A
    Each
    THB16,345.11
    KEMET
    ±50m/s²
    600 μA
    -
    5.5V
    -
    -
    -
    -
    -
    -25°C
    +85°C
    -
    • RS Stock No. 274-3109
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. HE050.0.0.0.002
    Each
    THB10,027.48
    Hauber Elektronik
    16mm/s
    20 mA
    -
    30V
    -
    10 → 1000 Hz
    -
    -
    -
    -40°C
    +60°C
    -
    • RS Stock No. 893-7281
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. 1007079-1
    Each
    THB3,076.54
    TE Connectivity
    -
    100 μA
    -
    30V
    -
    5 kHz
    -
    18.2mm
    11mm
    +5°C
    +60°C
    -
    • RS Stock No. 276-766P
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. HD-VA2527
    Each (Supplied on a Reel)
    THB897.09
    PUI Audio
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    • RS Stock No. 893-7376
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. 1005939-1
    Each
    THB182.33
    TE Connectivity
    -
    -
    -
    -
    -
    75 Hz
    17.8mm
    6mm
    1.7mm
    -20°C
    +60°C
    -
    • RS Stock No. 533-2346
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. MTN/1020
    Each
    THB14,051.63
    Monitran
    -
    8 mA
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -25°C
    +120°C
    -
    • RS Stock No. 274-3110
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. HE050.0.0.0.004
    Each
    THB10,027.48
    Hauber Elektronik
    32mm/s
    20 mA
    -
    30V
    -
    10 → 1000 Hz
    -
    -
    -
    -40°C
    +60°C
    -
    • RS Stock No. 205-5819
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. VS-JV10A-K02
    Each
    THB24,217.01
    KEMET
    ±50m/s²
    600 μA
    -
    5.5V
    -
    -
    -
    -
    -
    -25°C
    +85°C
    -
    • RS Stock No. 533-2302
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. MTN/1830SM8
    Each
    THB11,885.30
    Monitran
    -
    8 mA
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -10°C
    +140°C
    -
    • RS Stock No. 274-3111
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. HE050.0.0.0.006
    Each
    THB10,027.48
    Hauber Elektronik
    64mm/s
    20 mA
    -
    30V
    -
    10 → 1000 Hz
    -
    -
    -
    -40°C
    +60°C
    -
    • RS Stock No. 293-762
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. QM30VT2-SS-9M
    Each
    THB17,127.81
    Banner
    46mm/s
    9 mA
    -
    30V
    -
    -
    -
    -
    -
    -40°C
    +105°C
    -
    • RS Stock No. 275-2316
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. HE200.02.32.00.00.01.100
    Each
    THB45,979.57
    Hauber Elektronik
    32mm/s
    20 mA
    -
    -
    -
    10 → 1000 Hz
    -
    -
    -
    -35°C
    +125°C
    -
    • RS Stock No. 275-2308
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. HE200.02.64.01.00.01.020
    Each
    THB47,039.72
    Hauber Elektronik
    64mm/s
    20 mA
    -
    -
    -
    1 → 1000 Hz
    -
    -
    -
    -35°C
    +125°C
    -
    • RS Stock No. 618-7513
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. AU2401-7
    Each
    THB323.18
    Assemtech
    -
    200 mA
    24V
    -
    -
    -
    9.6mm
    -
    -
    -37°C
    +100°C
    -
    • RS Stock No. 275-2245
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. HE100.01.16.01.00.00.100
    Each
    THB31,565.01
    Hauber Elektronik
    16mm/s
    25 mA
    -
    30V
    -
    1 → 1000 Hz
    -
    -
    -
    -40°C
    +125°C
    -
    • RS Stock No. 205-5823
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. VS-BV203-B
    Each
    THB6,122.98
    KEMET
    ±100m/s²
    450 μA
    -
    5.5V
    -
    -
    -
    -
    -
    -25°C
    +85°C
    -
    • RS Stock No. 275-2243
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. HE100.00.64.01.00.00.000
    Each
    THB21,554.52
    Hauber Elektronik
    64mm/s
    25 mA
    -
    30V
    -
    1 → 1000 Hz
    -
    -
    -
    -40°C
    +125°C
    -
    • RS Stock No. 533-2403
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. MTN/1800
    Each
    THB25,243.99
    Monitran
    -
    8 mA
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -55°C
    +120°C
    -
    • RS Stock No. 293-764
    • หมายเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต / Mfr. Part No. QM30VT2-SS-QP
    Each
    THB17,127.81
    Banner
    46mm/s
    9 mA
    -
    30V
    -
    -
    -
    -
    -
    -40°C
    +105°C
    -
    ผลลัพธ์ต่อหน้า