การค้าหาล่าสุด / Recently searched

    DC Motors

    มอเตอร์กระแสตรง (DC Motor) คุณภาพมาตรฐานระดับสากล

    เมื่อพูดถึงมอเตอร์ไฟฟ้าที่จำเป็นในการใช้งานทั่วไป ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและในภาคครัวเรือน ชื่อของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง หรือ DC Motor คือชื่อแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง ถือเป็นมอเตอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดประเภทหนึ่ง ด้วยราคาที่ย่อมเยาเมื่อเทียบกับมอเตอร์ AC ในรุ่นกำลังไฟต่ำ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ไปจนถึงยานพาหนะไฟฟ้า ลิฟต์ และเครน

    แล้ว DC Motor คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง ? มอเตอร์ประเภทนี้คือมอเตอร์กระแสตรง ทำงานโดยอาศัยหลักการแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นพลังงานกล เพื่อขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรต่าง ๆ เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลไฟฟ้าหลากหลายชนิด โดยมอเตอร์ชนิดนี้สามารถควบคุมความเร็วได้โดยการปรับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไป และมีให้เลือกใช้กับแรงดันไฟฟ้าหลายแบบ แต่ขนาดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ 12 โวลต์และ 24 โวลต์

    องค์ประกอบของมอเตอร์ดีซี

    มอเตอร์ประเภทนี้มี 2 องค์ประกอบหลักด้วยกัน ได้แก่ Stator หรือส่วนที่อยู่นิ่ง และ Rotor หรือส่วนที่สามารถหมุนได้ โดยแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดปลีกย่อย ดังนี้

    1. ส่วนที่อยู่นิ่ง (Stator)

    • โครงสร้างมอเตอร์ : ทำหน้าที่รองรับส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในมอเตอร์
    • ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field Winding) : เป็นลวดที่พันรอบแกนเหล็กถาวร ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กภายในมอเตอร์ ประเภทของขดลวดสนามแม่เหล็ก แบ่งตามลักษณะการต่อวงจร ดังนี้
      • ขดลวดสนามแบบอนุกรม (Series Winding) : ต่ออนุกรมกับขดลวดอาร์เมเจอร์ ทำให้มอเตอร์มีแรงบิดเริ่มต้นสูง แต่ความเร็วรอบจะเปลี่ยนแปลงตามโหลด
      • ขดลวดสนามแบบขนาน (Shunt Winding) : ต่อขนานกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้มอเตอร์มีความเร็วรอบที่ค่อนข้างคงที่ แต่แรงบิดเริ่มต้นจะต่ำ
      • ขดลวดสนามแบบผสม (Compound Winding) : ประกอบด้วยขดลวดสนามแบบอนุกรมและแบบขนานต่อรวมกัน ขดลวดประเภทนี้จะส่งผลให้มอเตอร์มีแรงบิดเริ่มต้นสูงและความเร็วรอบที่ค่อนข้างคงที่

    2. ส่วนที่หมุน (Rotor)

    • แกนหมุน : แกนที่เชื่อมต่อกับเพลาเอาต์พุต ทำหน้าที่ส่งพลังงานกลจากมอเตอร์
    • ขดลวดอาร์เมเจอร์ (Armature Winding) : พันรอบแกนหมุน เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไป จะเกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น ทำให้เกิดแรงบิดหมุนแกน
    • แปรงถ่าน (Carbon Brush) : ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางของกระแสไฟฟ้าในขดลวดอาร์เมเจอร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแปรงถ่านจะสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์โดยตรง
    • คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) : วงแหวนโลหะที่หมุนไปพร้อมกับแกนหมุน ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางของกระแสไฟฟ้าในขดลวดอาร์เมเจอร์

    ข้อดีของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

    อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ามอเตอร์ไฟฟ้าประเภทนี้ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งมอเตอร์กระแสตรง มาพร้อมข้อดีต่าง ๆ มากมาย ได้แก่

    • มอเตอร์ดีซีใช้ระบบไฟฟ้ากระแสตรง ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งและใช้งาน
    • สามารถปรับแรงดันไฟฟ้าเพื่อควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำ
    • สามารถเริ่มต้น หยุด เดินหน้า ถอยหลัง และเร่งความเร็วได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการตอบสนองที่ฉับไว
    • มีแรงบิดสูงตั้งแต่เริ่มต้นการทำงาน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการกำลังมากในขณะเริ่มต้น
    • กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบของมอเตอร์กับแรงบิดเป็นเส้นตรง ทำให้ควบคุมการทำงานได้ง่าย

    ประเภทของมอเตอร์กระแสตรง

    มอเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ มอเตอร์แบบแปรงถ่าน (Brushed Motor) และ มอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน (Brushless Motor) ซึ่งต่างก็ใช้หลักการแม่เหล็กในการขับเคลื่อนแกนหมุนของมอเตอร์เช่นเดียวกัน

    1. มอเตอร์แบบแปรงถ่าน (Brushed Motor)

    เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบดั้งเดิม นิยมใช้ในงานทั่วไปที่ต้องการควบคุมความเร็วและแรงบิดแบบง่าย ๆ มีราคาประหยัด เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ปั๊มน้ำ สายพานลำเลียง

    2. มอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน (Brushless Motor)

    ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากข้อจำกัดของมอเตอร์แบบแปรงถ่าน โดยเฉพาะเรื่องอายุการใช้งานที่สั้นสำหรับงานหนัก เนื่องจากมอเตอร์ประเภทนี้ไม่มีแปรงถ่าน แต่วงจรขับเคลื่อนของ Brushless DC Motor ยังคงมีหลักการทํางานเหมือนมอเตอร์แบบมีแปรงถ่าน เพียงแต่ไม่มีแปรงถ่านและคอมมิวเตเตอร์เท่านั้น จึงช่วยลดภาระในการดูแลรักษาได้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ประสิทธิภาพการใช้งานสูง ประหยัดไฟ นิยมใช้ในการควบคุมความเร็วและตำแหน่งของเครื่องจักร เช่น ปั๊ม เครื่องอัดอากาศ ที่ต้องการความทนทานมากเป็นพิเศษ

    DC Motor ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?

    จากข้อมูลทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor) เป็นมอเตอร์ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหลายประเภท เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นคือ สามารถควบคุมความเร็วและแรงบิดได้อย่างแม่นยำ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการแรงบิดคงที่ หรือความเร็วรอบต่ำ ตัวอย่างการใช้งานมอเตอร์ชนิดนี้ ได้แก่

    • เครื่องมือไฟฟ้าขนาดเล็ก : สว่าน ไขควง เลื่อยไฟฟ้า เครื่องบด
    • อุปกรณ์ไฟฟ้า : พัดลม เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น
    • ยานพาหนะไฟฟ้า : รถยนต์ไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า
    • ระบบขนส่ง : ลิฟต์ เครน บันไดเลื่อน
    • เครื่องจักร : เครื่องกลึง เครื่องปั๊ม เครื่องอัดลม

    เลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจากแบรนด์ชั้นนำ ที่ RS

    มอเตอร์กระแสตรง เปรียบเสมือนกลไกสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลไฟฟ้าหลากหลายชนิด หากคุณกำลังมองหามอเตอร์ DC ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่จากหลากหลายแบรนด์ชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น Crouzet, Maxon, Portescap, Nidec, Micromotors รวมถึงแบรนด์ของเราเองอย่าง RS PRO สามารถเลือกชมสินค้า ศึกษารายละเอียด และสั่งซื้อได้สะดวกทุกเวลาที่เว็บไซต์ของ RS เรามีบริการจัดส่งทั่วประเทศ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าชนิดนี้ได้เลย

    1 จาก 1
    0 Products
    ค่าคัดกรองที่เลือกไว้ / Applied Filters (1)
    Brand :ล้าง
    Crouzet
    ยกเลิกทั้งหมด / Remove all
    0 Products
    ราคา / Price
    Brand :
    Supply Voltage
    DC Motor Type
    Power Rating
    Output Speed
    Shaft Diameter
    Maximum Output Torque
    Gearhead Type
    Gear Ratio
    Dimensions
    Current Rating
    Length
    Width
    Better World Product
    Better World Verification
    Depth
    Step Angle
    Product Details
    ราคา / Price
    Brand :
    Supply Voltage
    DC Motor Type
    Power Rating
    Output Speed
    Shaft Diameter
    Maximum Output Torque
    Gearhead Type
    Gear Ratio
    Dimensions
    Current Rating
    Length
    Width
    Better World Product
    Better World Verification
    Depth
    Step Angle

    Your current combination of filters has returned 0 results. Please change your selection.

    ผลลัพธ์ต่อหน้า