การค้าหาล่าสุด / Recently searched

    Insulation Testers

    เมกะโอห์มมิเตอร์ เครื่องวัดฉนวนช่วยตรวจสอบระบบไฟฟ้า

    ในการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องจักร และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด นอกจากประสิทธิภาพของอุปกรณ์แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับหนึ่ง ก็คือเรื่องความปลอดภัย เพราะหากประมาทเพียงเล็กน้อย ก็อาจเป็นอันตรายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ทรัพย์สินอื่น ๆ และชีวิตได้ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ก็คือ Insulation Tester หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘เครื่องทดสอบฉนวนไฟฟ้า’ นั่นเอง

    ทำความรู้จักกับ Insulation Tester

    นอกจากเครื่องทดสอบฉนวนไฟฟ้าแล้ว Insulation Tester ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกไม่ว่าจะเป็นเครื่องเทสฉนวนสายไฟ เครื่องวัดฉนวน เครื่องเมกะโอห์ม และเมกะโอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่ใช้สำหรับงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรืองานบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ มีจุดประสงค์หลักเพื่อตรวจสอบหาจุดบกพร่องของอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อซ่อมแซมและแก้ไขก่อนที่จะเกิดความเสียหายร้ายแรง สามารถตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูงได้หลากหลายประเภท เช่น สวิตช์เกียร์ มอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า สายเคเบิล ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้ารั่ว ไฟดูด และไฟฟ้าลัดวงจร เพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี โดยเราสามารถสรุปหน้าที่หลักของอุปกรณ์นี้ได้ ดังนี้

    • ตรวจสอบความเป็นฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้า : วัดค่าความต้านทานระหว่างตัวนำไฟฟ้ากับกราวด์ เพื่อประเมินว่าฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพหรือไม่ ป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว ไฟดูด ไฟลัดวงจร
    • บ่งบอกสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า : ค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าที่สูง บ่งบอกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ามีสภาพดี ค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าที่ต่ำ บ่งบอกว่าฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ อาจเกิดไฟรั่ว ไฟดูด ไฟลัดวงจรได้
    • ตรวจสอบระบบไฟฟ้า : ตรวจสอบสภาพของระบบไฟฟ้า หาจุดที่ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

    ที่ RS เราคือผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องวัดความเป็นฉนวนจากแบรนด์ชั้นนำในราคามิตรภาพ เช่น Megger, Fluke, Chauvin Arnoux, Keysight Technologies, Metrohm, FLIR และ RS PRO นอกจากนี้เรายังมีบริการทดสอบเครื่องเมกะสายไฟ เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าอุปกรณ์ของคุณได้มาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยด้วย

    เมกะโอห์มมิเตอร์มีโครงสร้างอย่างไร ?

    เครื่องทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้า มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้

    • แหล่งจ่ายไฟฟ้า มักใช้หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แรงดันสูง
    • วงจรวัดกระแส ทำหน้าที่วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านฉนวนไฟฟ้า
    • วงจรวัดแรงดันไฟฟ้า ทำหน้าที่วัดค่าแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ทดสอบฉนวนไฟฟ้า
    • วงจรคำนวณ ทำหน้าที่รับสัญญาณจากวงจรวัดกระแสไฟฟ้าและวงจรวัดแรงดันไฟฟ้า และคำนวณค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า
    • หน้าจอแสดงผล แสดงค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าในหน่วยเมกะโอห์ม (MΩ)
    • สายวัด ใช้สำหรับเชื่อมต่อเมกะโอห์มมิเตอร์กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการวัด

    หลักการทำงานของ Insulation Tester

    จากโครงสร้างและหน้าที่ของเมกะโอห์มมิเตอร์ที่กล่าวถึงไปข้างต้น เราสามารถสรุปหลักการทำงานของอุปกรณ์นี้ได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่

    • เมกะโอห์มมิเตอร์จะสร้างแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แรงดันสูงไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการวัด ซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง 100-1,000 โวลต์
    • วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านฉนวนไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านฉนวนไฟฟ้าจะมีค่าต่ำมาก มักอยู่ในระดับไมโครแอมแปร์
    • คำนวณค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าจากแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า โดยใช้สูตรโอห์ม R = V / I (R = ความต้านทาน, V = แรงดันไฟฟ้า, I = กระแสไฟฟ้า)
    • เครื่องจะแสดงค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าบนหน้าจอ โดยหน่วยที่ใช้แสดงค่าคือ เมกะโอห์ม (MΩ)

    ประเภทของเครื่องทดสอบฉนวนไฟฟ้า

    1. เครื่องทดสอบฉนวนไฟฟ้าแบบพกพา สะดวก ใช้งานง่าย
    2. เครื่องทดสอบฉนวนไฟฟ้าแบบติดตั้ง เหมาะสำหรับใช้งานในห้องปฏิบัติการ หรืองานที่ต้องการความแม่นยำสูง
    3. เครื่องทดสอบฉนวนไฟฟ้าแบบเข็มวัด ใช้เข็มวัดแสดงค่าความต้านทานฉนวน

    จุดประสงค์ในการใช้เมกะโอห์มมิเตอร์

    ในระบบไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าควรไหลตามสายไฟไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง กระแสไฟฟ้าบางส่วนอาจรั่วไหลออกจากสายไฟได้ ซึ่งปัญหานี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ การทดสอบฉนวนไฟฟ้าด้วยเครื่องที่ได้มาตรฐานจึงเป็นวิธีการสำคัญที่จะช่วยตรวจสอบประสิทธิภาพของฉนวนไฟฟ้า ว่ายังสามารถป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้อย่างปลอดภัยหรือไม่

    วิธีใช้ Insulation Tester

    • ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนวัดค่าความเป็นฉนวน
    • ต่อสายวัดเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า สายหนึ่งต่อกับตัวนำไฟฟ้า อีกสายหนึ่งต่อกับกราวด์
    • ตั้งค่าแรงดันไฟฟ้าและเวลาทดสอบ ตามชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้า
    • กดปุ่มวัดแล้วรอจนเครื่องแสดงผล
    • อ่านค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า บนหน้าจอ
    • เปรียบเทียบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าที่วัดได้ กับค่ามาตรฐาน เพื่อประเมินสภาพของฉนวนไฟฟ้า

    ข้อควรระวังในการใช้งาน

    • ห้ามใช้งานเมกะโอห์มมิเตอร์ ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้ายังเปิดใช้งานอยู่
    • ต่อสายวัดให้ถูกต้อง สายหนึ่งต่อกับตัวนำไฟฟ้า อีกสายหนึ่งต่อกับกราวด์
    • ตั้งค่าแรงดันไฟฟ้าและเวลาทดสอบ ตามชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้า
    • ห้ามสัมผัสตัวนำไฟฟ้า ขณะใช้งานเมกะโอห์มมิเตอร์
    • เก็บรักษาเมกะโอห์มมิเตอร์ ในที่แห้งและอุณหภูมิปกติ

    RS จำหน่ายเครื่องวัดเมกะโอห์มและอุปกรณ์เสริมราคามิตรภาพ

    เมื่อรู้แล้วว่าเครื่องทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้าหรือเมกะโอห์มมิเตอร์คืออะไร ใช้วัดอะไรบ้าง หากกำลังมองหาเครื่องมือวัดฉนวนที่ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ชั้นนำได้ที่เว็บไซต์ของ RS มีให้เลือกหลายแบบ ตอบโจทย์การใช้งานครอบคลุม หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานได้เลย

    59 สินค้าที่แสดงสำหรับ Insulation Testers

    ผลลัพธ์ต่อหน้า