อุปกรณ์เซฟตี้รีเลย์ป้องกันอันตรายจากระบบไฟฟ้า
วงจรเซฟตี้รีเลย์ป้องกันหรือ Safety Relay คือ อุปกรณ์ระบบอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดพลาดหรือจุดบกพร่อง ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าในเครื่องจักรหรือโรงงานอุตสาหกรม โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติงาน
หากเกิดความผิดพลาดขึ้นในระบบไฟฟ้า อุปกรณ์เซฟตี้รีเลย์จะดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหาย และทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานกลับสู่สภาวะที่ปลอดภัย ซึ่งการใช้ Safety Relay ในการติดตามกระบวนการทำงานและการผลิตนั้น จะช่วยปกป้องทั้งเครื่องจักรและพนักงานให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ป้องกันการบำรุงรักษาและการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่อาจมีราคาแพง รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของบุคลากร
สำหรับตัวอย่างฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์นี้ ได้แก่ การสั่งหยุดเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทันท่วงทีเพื่อรอให้นำสิ่งกีดขวางออกไป และทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นระบบหยุดฉุกเฉิน โดยตัดกระแสไฟไปยังเครื่องจักรหรือโรงงานเฉพาะจุด จนกว่าสภาพแวดล้อมจะปลอดภัยเพียงพอ ทำให้สามารถจ่ายไฟกลับเข้ามาและทำงานต่อได้
เซฟตี้รีเลย์ใช้กับงานประเภทใดบ้าง ?
อุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยประเภทนี้นิยมใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนของกระบวนการ หรือทั้งกระบวนการก็ตาม โดยช่างไฟฟ้าทั่วไปสามารถติดตั้งเซฟตี้รีเลย์ลงในวงจรไฟฟ้า เพื่อสร้างเป็นวงจรความปลอดภัยได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีการฝึกอบรมเฉพาะทาง ซึ่งเรามักพบการใช้งานเซฟตี้รีเลย์ในอุปกรณ์ควบคุมเหล่านี้
- ปุ่มควบคุมนิรภัยแบบสองมือ
- ประตูหรือรั้วนิรภัยที่สามารถเคลื่อนย้ายได้
- ม่านแสงนิรภัย (Light Curtains)
- สวิตช์แม่เหล็ก (Magnetic Switches)
- แผ่นยางนิรภัย (Safety Mats) และแผ่นยางตรวจจับแรงกด (Pressure Sensitive Mats)
- เซ็นเซอร์นิรภัยแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Safety Sensors)
- สวิตช์นิรภัย (Safety Switches)
- ปุ่มหยุดฉุกเฉิน (Emergency Stop Buttons)
ประเภทของรีเลย์เซฟตี้ที่ควรรู้
ในส่วนของประเภทเซฟตี้รีเลย์นั้น หลัก ๆ จะแบ่งตามฟังก์ชันการใช้งาน ซึ่งโดยทั่วไปอุปกรณ์นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เซฟตี้รีเลย์แบบฟังก์ชันเดียว และเซฟตี้รีเลย์แบบหลายฟังก์ชัน โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดและคุณสมบัติเด่นดังนี้
1. เซฟตี้รีเลย์แบบฟังก์ชันเดียว (Safety Relay Single Function)
อุปกรณ์ประเภทนี้ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของวงจรประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น โดยอุปกรณ์แต่ละตัวจะถูกตั้งโปรแกรมแยกกันเพื่อตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมาย ยกตัวอย่างเช่น เซฟตี้รีเลย์สำหรับตรวจสอบประตูเครื่องจักร ก็มีหน้าที่ตรวจสอบเฉพาะว่าประตูเครื่องจักรปิดสนิทหรือไม่เพียงอย่างเดียว
2. เซฟตี้รีเลย์แบบหลายฟังก์ชัน (Safety Relay Multi Functions)
สามารถตรวจสอบฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายได้ในเวลาเดียวกัน โดยสามารถใช้แทนเซฟตี้รีเลย์แบบฟังก์ชันเดียวหลายตัวเพื่อตรวจสอบการทำงานในจำนวนเดียวกันได้เลย ยกตัวอย่างเช่น การใช้อุปกรณ์แบบหลายฟังก์ชันทำหน้าที่ตรวจสอบทั้งประตูเครื่องจักร สัญญาณหยุดฉุกเฉิน และม่านแสงนิรภัยในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ อุปกรณ์ประเภทนี้ยังมีข้อดีอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย ได้แก่
- ติดตั้งง่ายกว่าและใช้สายไฟจำนวนน้อย เนื่องจากใช้จำนวนอุปกรณ์น้อยชิ้น
- ประหยัดพื้นที่ ทำให้ใช้พื้นที่บนแผงควบคุมได้อย่างคุ้มค่ากว่า
- มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งสูง เพราะไม่ต้องถอดหรือเปลี่ยนตำแหน่งอุปกรณ์จำนวนมาก
คู่มือเลือกซื้อ Safety Relay อย่างถูกวิธี
หากคุณต้องการซื้อเซฟตี้รีเลย์มาติดตั้งในระบบไฟฟ้า แล้วไม่รู้จะเริ่มต้นเลือกอย่างไรดี นี่คือคู่มือการเลือกซื้อเบื้องต้นที่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ
- พิจารณาจากฟังก์ชันการทำงาน ทั้งแบบฟังก์ชันเดียวและแบบหลายฟังก์ชัน ต้องการตรวจสอบสัญญาณจากอุปกรณ์เซฟตี้ประเภทไหน และจำเป็นต้องใช้ฟังก์ชันอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่
- เลือกอุปกรณ์ที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อความมั่นใจในการใช้งาน
- เลือกอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการใช้งาน โดยพิจารณาจากอุณหภูมิ ความชื้น และฝุ่นละออง รวมทั้งขนาดต้องเหมาะสมกับพื้นที่ติดตั้ง
- มีแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าตรงกับอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน
- เลือกเซฟตี้รีเลย์ที่มีราคาเหมาะสม ผลิตโดยผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ และมีบริการหลังการขายที่ได้มาตรฐาน
RS จำหน่าย Safety Relay คุณภาพดี ราคามิตรภาพ
ที่ RS เราคือเว็บไซต์ขายเซฟตี้รีเลย์ราคามิตรภาพ การันตีคัดสรรมาแต่สินค้าคุณภาพสูง ได้มาตรฐานสากล สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย มีให้เลือกหลายรุ่น หลายแบบ ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกความต้องการในราคาที่คุ้มค่าที่สุด พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศ สามารถสั่งซื้อสะดวกผ่านเว็บไซต์ของเราได้ตลอด 24 ชม. หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย