เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวจากแบรนด์ชั้นนำที่คุณมั่นใจ
เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Control Sensors) หรือเซ็นเซอร์ตรวจวัดตำแหน่ง (Position Sensors) หรือที่หลายคนอาจเรียกว่า Rotary Encoders คือ เซ็นเซอร์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับความเคลื่อนไหวของวัตถุที่อยู่ใกล้เคียง และส่งสัญญาณไฟฟ้ากลับไปยังตัวแปลงสัญญาณ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงเป็นสัญญาณที่อุปกรณ์ดิจิทัลสามารถอ่านได้ โดยเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหว หรือ Motion Sensor นี้ คือสิ่งที่สามารถวัดตำแหน่งของวัตถุที่ตรวจจับได้อย่างแม่นยำ ทำให้ผู้ใช้สามารถระบุการเคลื่อนที่แบบหมุนเชิงกลได้ นอกจากนี้ เซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและปรับการทำงานต่าง ๆ ของวัตถุ เช่น ความเร็ว ตำแหน่ง ความถี่ และระดับเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของ Sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหว
Rotary Encoder
หรือที่เรียกว่า เซ็นเซอร์ตรวจวัดเพลา (Shaft Encoders) เป็นเซ็นเซอร์แบบเครื่องกลไฟฟ้า ทำหน้าที่ตรวจสอบตำแหน่งของเพลา หรือแกน แล้วจึงส่งข้อมูลตำแหน่งกลับไปยังระบบควบคุมในรูปแบบดิจิทัล เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวประเภทนี้ นิยมใช้ในงานระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่ต้องการความแม่นยำสูงในการหมุนเพลาแบบไม่จำกัดรอบ
Linear Transducer
ใช้สำหรับวัดการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง โดยจะแปลงการเคลื่อนที่นั้นให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งจะมีค่าตามสัดส่วนของระยะการเคลื่อนที่ เซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวประเภทนี้ มักถูกนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง มีอุณหภูมิที่เย็นจัด และยังเหมาะกับการใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำสูง
Magnetic Pickup
เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้ตรวจจับความเร็วของชิ้นส่วนที่กำลังเคลื่อนที่ โดยอาศัยสนามแม่เหล็กจากชิ้นส่วนนั้นในการเหนี่ยวนำ เพื่อก่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้า AC ที่สามารถวัดได้ เซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวประเภทนี้ มักถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของมาตรวัดความเร็ว (Speedometers) หรือเครื่องวัดรอบ (Tachometers) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญของเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม
LVDT: Linear Variable Differential Transformer
ใช้สำหรับวัดการเคลื่อนที่เชิงเส้นได้อย่างแม่นยำ โดยเซ็นเซอร์ LVDT มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัสดุ ช่วงอุณหภูมิที่ใช้ในการวัด ระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน และระยะการวัด เซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวชนิดนี้มีการออกแบบมาเพื่อวัดวัตถุหลายจุด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม หรืองานวิจัย เนื่องจากสามารถปรับแต่งให้เข้ากับลักษณะงานที่ต้องการวัดได้หลากหลาย
Incremental Encoder
เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวประเภทนี้ จะสร้างสัญญาณทางไฟฟ้าจำนวนหนึ่งตามการหมุนหนึ่งรอบ เพื่อวัดระยะทางเชิงเส้นหรือมุมที่เคลื่อนที่ไป ทุกครั้งที่เปิดใช้งานเซ็นเซอร์ตรวจจับ ค่าจะเริ่มต้นที่ศูนย์ โดยไม่คำนึงว่าเพลาอยู่ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการวัดเพลาเพื่อเทียบกับจุดอ้างอิงที่เฉพาะเจาะจง
Absolute Encoder
เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวประเภทนี้ จะให้ค่าตัวเลขที่แน่นอนสำหรับทุกตำแหน่งเชิงมุมของทุกการหมุน เหมาะสำหรับใช้วัดการเคลื่อนที่เชิงมุมของเครื่องจักรกลอย่างแม่นยำ และถึงแม้จะไม่ได้ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน แต่เซ็นเซอร์ตรวจจับชนิดนี้ก็ยังสามารถให้ค่าตำแหน่งที่แม่นยำได้ทุกครั้งที่ทำการวัด
วงจรเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion Sensor) มีอะไรบ้าง
วงจรเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว คือวงจรซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่เซ็นเซอร์ตรวจจับได้ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ วงจรเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวมีหลายประเภท เช่น
- วงจรแสง
- วงจรคลื่นไมโครเวฟ
- วงจรสนามแม่เหล็ก
เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว มีหลักการทำงานอย่างไร
เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion Sensor) มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของแสง
การตรวจจับการเคลื่อนไหวด้วยแสง ทำได้โดยการปล่อยลำแสงอินฟราเรดออกไป เมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ผ่านลำแสง แสงจะถูกสะท้อนกลับไปยังเซ็นเซอร์ เซ็นเซอร์จะตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง และส่งสัญญาณไปยังระบบควบคุม
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไมโครเวฟ
เซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวบางประเภท ใช้คลื่นไมโครเวฟในการตรวจจับ โดยปล่อยคลื่นไมโครเวฟออกจากเซ็นเซอร์ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ผ่าน ความถี่ของคลื่นไมโครเวฟจะเปลี่ยนแปลง เซ็นเซอร์จะตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของความถี่นั้น และส่งสัญญาณไปยังระบบควบคุม
การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก
เซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวบางประเภท ใช้สนามแม่เหล็กในการตรวจจับการเคลื่อนไหว ด้วยการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นรอบ ๆ เซ็นเซอร์ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจะเปลี่ยนแปลง เซ็นเซอร์จะตรวจจับการเปลี่ยนแปลงนั้นและส่งสัญญาณไปยังระบบควบคุม
การเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศ
เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวบางประเภท จะสร้างแรงดันอากาศขึ้นรอบ ๆ ตัว เมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ผ่านเซ็นเซอร์ แรงดันอากาศจะเปลี่ยนแปลง เซ็นเซอร์จะตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศ และส่งสัญญาณไปยังระบบควบคุม
การใช้งานเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว
ระบบรักษาความปลอดภัย
ใช้เพื่อตรวจจับบุคคลที่บุกรุกเข้ามาในเขตพื้นที่ เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจพบการเคลื่อนไหว ระบบจะส่งสัญญาณเตือนหรือเปิดใช้งานระบบไซเรน
ระบบควบคุมแสงสว่าง
ใช้เพื่อเปิดไฟโดยอัตโนมัติเมื่อมีคนเดินผ่าน และดับลงเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหว จึงช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น
ระบบควบคุมประตูอัตโนมัติ
ใช้เพื่อควบคุมการเปิดประตูโดยอัตโนมัติเมื่อมีคนเดินผ่าน ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าสู่พื้นที่ต่าง ๆ
ระบบควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า
ใช้ในระบบควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีการเคลื่อนไหวอยู่ใกล้ ๆ
ระบบอุตสาหกรรม
ใช้เพื่อตรวจจับการร่วงหล่นของสินค้าหรือชิ้นส่วนในสายการผลิต ช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว
- ใช้งานสะดวก ทำงานได้อย่างอัจฉริยะ
- มีประสิทธิภาพสูง ตรวจจับการเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ
- สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ได้หลากหลาย เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน
- ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน
การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว
เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว มีประโยชน์อย่างยิ่งในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำในการตั้งค่าและวัดการหมุนของเพลา หรือการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วน เพื่อให้กระบวนการผลิตในโรงงานดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเหล่านี้
- อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ
- การวัดและการทดสอบ
- อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
- ระบบอัตโนมัติและระบบควบคุมในโรงงาน
- กระบวนการผลิต
RS จำหน่ายเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหว (Motion Sensor) จากแบรนด์ชั้นนำที่คุณมั่นใจ ช็อปสะดวกทางออนไลน์
RS ผู้นำด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ จำหน่าย Sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหวจากแบรนด์ชั้นนำที่ได้มาตรฐาน มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย เราจำหน่ายเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion Sensor) ทั้งราคาปลีกและราคาส่ง สามารถเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้อย่างสะดวกตลอด 24 ชม. บนเว็บไซต์ พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าได้เลย