การค้าหาล่าสุด / Recently searched

    Hard Hats

    จำหน่ายหมวกนิรภัย หลากหลายแบรนด์ชั้นนำ มาตรฐานสากล

    หมวกกันกระแทก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “หมวกนิรภัย” เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ PPE (Personal Protective Equipment) หรือ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล โดยประโยชน์ของหมวกนิรภัยคือช่วยปกป้องศีรษะของคุณจากการถูกของตกลงมาใส่ รวมถึงการกระแทกจากวัตถุอื่น ๆ นอกจากนี้หมวกเซฟตี้ (Safety) ยังสามารถป้องกันไฟฟ้าช็อตอีกด้วย โดยหมวกนิรภัยนิยมสวมใส่ในการทำงานบนหลังคา งานก่อสร้าง รวมถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ เรียกได้ว่า สามารถสวมใส่ได้ทุกสภาพแวดล้อม โดยในไซต์ก่อสร้างทั่วโลก การสวมหมวก Safety เป็นข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

    กระบวนการผลิตหมวกกันกระแทก

    ส่วนใหญ่แล้วหมวกป้องกันศีรษะจะทำจากพลาสติกที่มีความแข็งแรง เช่น HDPE (High-Density Polyethylene) โดยภายในหมวกนิรภัยจะมีแถบรองรับแรงกระแทก ช่วยกระจายแรงกระแทกไปทั่วด้านบนของศีรษะ ลดอาการบาดเจ็บ นอกจากนั้น หมวกก่อสร้างมาพร้อมกับสายรัดคางที่สามารถปรับระดับได้เพื่อให้หมวกเซฟตี้อยู่กับที่อย่างแน่นหนา อีกทั้งบางรุ่นมีช่องระบายอากาศเพื่อให้ศีรษะของคุณเย็นสบายขณะทำงาน

    ประเภทของหมวกกันกระแทก

    หมวกแข็งนิรภัยมีกี่แบบ ? คำตอบคือเราสามารถแบ่งประเภทของหมวกนิรภัย ได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

    • หมวกกันกระแทกแบบทั่วไป : เหมาะสำหรับงานที่มีความเสี่ยงจากวัตถุตกใส่ศีรษะ เช่น งานก่อสร้าง งานซ่อมบำรุง เป็นต้น หมวกประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันศีรษะจากการถูกของตกลงมาจากที่สูง
    • หมวกกันกระแทกแบบป้องกันด้านข้าง : เป็นหมวกที่ให้การปกป้องแรงกระแทกจากด้านบนศีรษะและด้านข้างหรือด้านข้างศูนย์กลาง เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจากวัตถุกระเด็นหรือแกว่งมาทางด้านข้าง เช่น งานตัดต้นไม้ งานเหมืองแร่ เป็นต้น

    ระดับการป้องกันไฟฟ้าของหมวกนิรภัย

    การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงจากไฟฟ้าช็อต จำเป็นต้องเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม หมวกเซฟตี้แบ่งตามระดับการป้องกันไฟฟ้าได้ 3 ประเภท ดังนี้

    • Class E (Electrical) : หมวกนิรภัยประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันแรงกระแทกจากของตก และยังสามารถป้องกันไฟฟ้าช็อตได้สูงถึง 20,000 โวลต์ เหมาะสำหรับงานที่มีความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง เช่น ช่างไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น
    • Class G (General) : หมวกนิรภัยชนิดนี้สามารถป้องกันแรงกระแทกจากของตกและไฟฟ้าช็อตได้สูงถึง 2,200 โวลต์ เหมาะสำหรับงานที่มีความเสี่ยงจากไฟฟ้าแรงดันต่ำ เช่น ช่างไฟฟ้าทั่วไป ช่างซ่อมบำรุง เป็นต้น
    • Class C (Conductive) : หมวกเซฟตี้ประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันแรงกระแทกจากของตกเท่านั้น แต่ไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันไฟฟ้าช็อต จึงไม่เหมาะสำหรับงานที่มีความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้า

    ความหมายของสีหมวกเซฟตี้ที่ควรรู้

    หมวกกันกระแทกมีหลายสี แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดสีหมวกเซฟตี้ในการใช้งาน แต่ไซต์ก่อสร้างหลายแห่งใช้สีเพื่อระบุประเภทของงาน ตัวอย่างเช่น หมวกกันกระแทกสีเหลืองสำหรับผู้ปฏิบัติงานทั่วไปและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานเคลื่อนย้ายดิน หมวกเซฟตี้สีขาว เป็นหมวกวิศวกร หรือสำหรับผู้จัดการ หัวหน้าคนงาน และสถาปนิก หมวกกันกระแทกสีน้ำตาล สำหรับผู้ที่ทำงานกับอุปกรณ์ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ช่างเชื่อม เป็นต้น

    อายุการใช้งานของหมวกกันกระแทก

    ถ้าหมวกนิรภัยที่ใช้งานอยู่เสียหาย จำเป็นต้องเปลี่ยนทันที และถึงแม้ว่าจะไม่เสียหาย แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็แนะนำว่าโดยเฉลี่ยแล้วอายุการใช้งานของอยู่ที่ประมาณ 2-5 ปี โดยควรเปลี่ยนเมื่อถึงเวลาที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

    เลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันศีรษะหลากหลายแบรนด์ชั้นนำได้ที่ RS

    สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแหล่งซื้ออุปกรณ์ป้องกันศีรษะ ไม่ว่าจะเป็นหมวกกันกระแทก หมวกก่อสร้าง หรือหมวกเซฟตี้ในราคาคุ้มค่า คุณภาพดี ต้องที่ RS เพราะเราคัดอุปกรณ์ป้องกันศีรษะคุณภาพสูงจากหลากหลายแบรนด์ชั้น นำทั่วโลกมาให้เลือกสรร

    นอกจากนั้น ยังมีบริการจัดส่งทั่วประเทศ สามารถสั่งซื้อสะดวกผ่านเว็บไซต์ของเราได้ตลอด 24 ชม. หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเราเพื่อหาหมวกนิรภัยที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของคุณที่สุดได้เลย

    คัดกรอง / Filters
    เรียงลำดับตาม
    1 จาก 1
    ผลลัพธ์ต่อหน้า