เครื่องมือตรวจสอบและควบคุม

ทางทีมงานผู้เชี่ยวชาญระดับสากลได้ตอบคำ ถามที่ลูกค้ามักจะถามเป็นประจำดังนี้

คำถามที่พบบ่อย
  1. WEEE และ RoHS คืออะไร?
  2. ทำไมพวกเราต้องมีระเบียบเหล่านี้ และมีความจำเป็นจริงหรือ?
  3. หน่วยงานราชการใดที่มีส่วนในการบังคับใช้ระเบียบ RoHS?
  4. ระเบียบของ RoHS จะถูกบังคับใช้ได้อย่างไร?
  5. บทลงโทษของการไม่ปฏิบัติตาม RoHS?
  6. ระเบียบของ WEEE และ RoHS เป็นเพียงระเบียบแบบ 'Single Market' หรือไม่?
  7. ข้อกำหนดของทั้ง 2 หน่วยงานนี้มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่?
  8. อุปกรณ์ชนิดใดบ้างที่อยู่ภายใต้ระเบียบเหล่านี้?
  9. ใครคือผู้ผลิต?
  10. คำจำกัดความของ 'Producer' ภายใต้ระเบียบของ RoHS คืออะไร?
  11. ความหมายของความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Producer Responsibility) คืออะไร?
  12. ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของข้าพเจ้ายังไม่ได้อยู่ภายใต้การรับรองจาก RoHS ในอนาคตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะผ่านการรับรองหรือไม่ ?
  13. เมื่อใดที่ผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ RoHS?
  14. RoHS มีผลบังคับใช้กับอุปกรณ์สำหรับทำต้นแบบและเครื่องมือที่ผลิตไว้เพื่อใช้งานเองเป็นการส่วนตัวหรือไม่?
  15. ถ้าผลิตภัณฑ์ของข้าพเจ้านั้นมีชิ้นส่วนต่างๆ ที่มาประกอบกันจำนวนมาก แล้วชิ้นส่วนเหล่านี้จะต้องอยู่ในระเบียบของ RoHS หรือไม่?
  16. เรามักจะคุ้นเคยกับระเบียบของ WEEE มากกว่า ระเบียบของ RoHS เพราะอะไร?
  17. ความหมายของการวางขายในตลาด (Placed on the market) คืออะไร?
  18. มีข้อยกเว้นสำหรับผลิตภัณฑ์ใดๆ หรือไม่?
  19. หากมีปริมาณสารต้องห้ามอยู่ในวัสดุที่ใช้อยู่แล้วโดยธรรมชาติ จะจัดการอย่างไร?
  20. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารต้องห้ามสามารถวางจำหน่ายในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ในยุโรปได้หรือไม่?
  21. ระเบียบของ RoHS ส่งผลให้ต้นทุนของชิ้นส่วนประกอบสูงขึ้นหรือไม่?
  22. พนักงานของข้าพเจ้าจำเป็นต้องได้รับการอบรมอะไรบ้าง เพื่อเตรียมพร้อมและจัดการกับช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ RoHS?
  23. มีชิ้นส่วนประกอบที่ถูกผลกระทบหรือไม่ถูกใช้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ เนื่องมาจากการบังคับใช้ระเบียบของ RoHS?

  1. WEEE และ RoHS คืออะไร?

WEEE ย่อมาจาก Waste Electrical and Electronic Equipment (ของเสียจากเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) ส่วน ROHS ย่อมาจาก  Restriction of Certain Hazardous Substances (การควบคุมสารอันตราย) ระเบียบทั้งสองหน่วยงานนี้เป็นข้อกำหนดของยุโรปที่ต้องการที่จะให้ประเทศสมาชิกในยุโรปทั้งหมดได้ตระหนักถึงแนวทางเพื่อการพัฒนาปรับวิธีการเพื่อจัดการกับ WEEE

 กลับสู่ด้านบน

 2. ทำไมพวกเราต้องมีระเบียบเหล่านี้และมีความจำเป็นจริงหรือ?

การนำระเบียบเหล่านี้ไปใช้นั้นจะช่วยลดความเสี่ยงอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ด้วยการบำบัดของเสียอย่างเหมาะสม และการลดปริมาณสารที่เป็นอันตราย ทางทีมงานคาดหวังประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการอนุรักษ์ของวัสดุดิบ และทรัพยากรด้านพลังงาน สำหรับผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ได้ผ่านการศึกษาวิเคราะห์นั้น เราพบว่าข้อกำหนดเหล่านี้จะช่วยลดมลภาวะทางอากาศ รวมไปถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสารทำลายชั้นบรรยากาศ และสารพิษต่างๆในน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบของ WEEE จะช่วยในการเปลี่ยนปริมาณของเสียได้ถึง 133,000-339,000 ตัน จากการผังกลบ และระเบียบของ RoHS ได้ช่วยในเรื่องการรีไซเคิลในอนาคต เนื่องจากความต้องการในการดูแลจัดการสารอันตรายเป็นพิเศษมีน้อยลง จึงเป็นการช่วยลดต้นทุนที่ใช้ในการรีไซเคิลไปด้วย

 กลับสู่ด้านบน

 3. หน่วยงานราชการใดที่มีส่วนในการบังคับใช้ระเบียบ RoHS?

ในประเทศอังกฤษได้มีหน่วยงานที่ชื่อว่า Nation Weights and Measures Laboratory เป็นผู้ดูแลควบคุมอยู่ ซึ่งทางหน่วยงานนี้ได้มีการกำหนด:
    นโยบายดังนี้ว่า:
  • การบังคับใช้นั้นควรเป็นวิธีเหมาะสมเพื่อนำให้ และอยู่บนพื้นฐานการวัดผลกระทบของความเสี่ยง
  • แบบฟอร์ม และข้อมูลที่ต้องการจะถูกเก็บให้น้อยที่สุด
  • ข่าวสาร และข้อมูลควรจะถูกส่งให้ทางหน่วยงานทางอีเมล์ หรือในรูปแบบที่สะดวกต่อผู้ผลิต
  • การบังคับใช้จะต้องไม่เลือกปฏิบัติ หรือไม่เป็นธรรม
    ทางหน่วยงานจะช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมในการปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นได้:
  • ทางหน่วยงานต้องให้บริการข้อมูลข่าวสาร และคำแนะนำปรึกษาให้
  • การทำงานของหน่วยงานเป็นเสมือนหุ้นส่วน
  • มีการจัดสัมมนาด้านข้อกำหนดต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆ
  • สะดวกในการติดต่อ และช่วยเหลือในการตอบคำถามต่างๆ อย่างรวดเร็ว
พวกเราจะให้การช่วยเหลือผู้ผลิตที่มีความประสงค์ในการปฏิบัติตามข้อกำหนด และจูงใจอย่างเต็มที่สำหรับผู้ผลิตที่ยังไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ กิจกรรม NWML ที่เว็บไซด์ - www.rohs.gov.uk.

ถ้าท่านมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ NWML หรือต้องการข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับคำจำความของ RoHS สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ด้านล่างนี้:

e-mail - rohs@nwml.gov.uk
General enquiry line - 020 8943 7227

Post to ส่งถึง RoHS Enforcement Team
NWML
Stanton Avenue
Teddington
Middlesex
TW11 0JZ

 กลับสู่ด้านบน

 4. ระเบียบของ RoHS จะถูกบังคับใช้ได้อย่างไร?

ทางสมาชิกแต่ละประเทศของสหภาพยุโรปนั้นได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาเรื่องการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ RoHS ซึ่งได้ดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้:
  • มีการทดลองสั่งซื้อ และส่งผลิตภัณฑ์นั้นไปตรวจสอบ
  • ขอตรวจข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดจากผู้ผลิตโดยตรง
  • ตรวจเยี่ยมผู้ผลิตเพื่อพูดคุยประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับข้อกำหนด
  • โน้มน้าวให้บริษัทคู่แข่งทางการค้า และบริษัทอื่นๆในด้านซัพพลายเชนแจ้งทางหน่วยงานว่าบริษัทใดบ้างที่ยังไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด
อย่างไรก็ตามการบังคับใช้ที่เข้มงวดมากที่สุดนั้น อาจมาจากผู้ผลิตที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของระเบียบ RoHS แล้ว เนื่องจากส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามโปรแกรมของ RoHS ทำให้ผู้ผลิตเหล่านี้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้จำหน่ายชิ้นส่วนประกอบที่ใช้ประกอบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่กำลังผลิตนั้นตรงตามข้อกำหนดอย่างสมบูรณ์

 Back to top

 5. บทลงโทษของการไม่ปฏิบัติตาม RoHS?

ระเบียบของ RoHS ได้กล่าวไว้ว่า ประเทศสมาชิกควรจัดหาบทลงโทษที่เหมาะสมจากการละเมิดหรือไม่จัดหาชิ้นส่วนต่างๆภายในประเทศ  เพื่อนำมาใช้ในการปรับผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนด และการลงโทษนั้นควรจะถูกบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ, เหมาะสม และใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้  ตามกฎหมายของประเทศอังกฤษได้ระบุไว้ว่า :

ข้อกำหนดของ RoHS ได้มีแนวทางการป้องกันการฝ่าฝืนดังต่อไปนี้:

การละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยมีการใช้สารอันตรายอันเป็นสารต้องห้ามตามข้อกำหนดของ RoHS จะมีผลให้ผู้ที่ละเมิดนั้นจะถูกปรับเป็นเงินไม่เกินค่าปรับสูงสุดตามกฎหมาย (ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 5,000 ปอนด์) หรือปรับโดยไม่จำกัดจำนวนเงินตามการละเมิด หรือการฟ้องร้องคดี

ผู้ที่ไม่ส่งเอกสารประกอบการชี้แจงเรื่องการปฏิบัติตามข้อกำหนดเมื่อเจ้าหน้าที่ร้องขอ จะถูกปรับสูงสุดถึงขั้นที่ 5 ตามมาตรฐาน

ข้อป้องกันสำหรับผู้ที่ได้พยายามในการที่จะปฏิบัติตามระเบียบนั้น หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถชี้แจงได้ว่า ปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ อย่างเหมาะสมแล้ว และได้พยายามดำเนินการต่างๆ แล้วจะไม่จัดเป็นผู้ละเมิด โดยการโต้แย้งนี้ต้องมีหนังสืออ้างอิงที่จัดทำโดยบุคคลที่สาม หรือเป็นข้อมูลใดๆ ของบุคคลดังกล่าว

กฎเกณฑ์ต่างๆมีไว้เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความรับผิดชอบ มากกว่าทำขึ้นเพื่อต้องการลงโทษ  และอนุญาตให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาเพื่อดำเนินคดีจากการละเมิดข้อกำหนด

เมื่อพบว่ามีการละเมิดข้อบังคับโดยบุคคลหรือองค์กรที่มีส่วนร่วมในการทำงาน จากการยอมรับผิด การมีส่วนรู้เห็น หรือตลอดจนการเพิกเฉยต่อเจ้าหน้าที่, ผู้จัดการ หรือพนักงาน ผู้นั้นจะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ละเมิดเช่นเดียวกับองค์กรดังกล่าวด้วย

N.B. บทลงโทษสูงสุดคือการที่จะสูญเสียชื่อเสียง และส่วนแบ่งทางการตลาดเนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงตามข้อกำหนด และจะถูกดำเนินการประกาศ และลงเป็นข่าวสารแจ้งทั่วกัน

 กลับสู่ด้านบน

 6.ระเบียบของ WEEE และ RoHS เป็นเพียงระเบียบแบบ 'Single Market' หรือไม่?

‘Single Market’ Directives เป็นระเบียบของสหภาพยุโรปที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ที่ได้มีการนำไปใช้บังคับในประเทศสมาชิกทั้งหมด และมีการนำไปปฏิบัติตามในแนวทางเดียวกัน เพื่อป้องกันความแตกต่างในการตีความภายในสหภาพได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ผลิตจะไม่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกันภายในแต่ละประเทศสมาชิก จากระเบียบของ WEEE ไม่ใช่เป็นระเบียบแบบ Single Market ระเบียบนี้จะเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม  ส่วนระเบียบของ RoHS เป็นระเบียบแบบ Single Market เนื่องจากมีการจัดตั้งมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

 กลับสู่ด้านบน

 7.  มีเพียงสองหน่วยงานนี้เท่านั้นหรือที่เกี่ยวข้อง?

ใช่เกี่ยวข้องกัน ระเบียบของ WEEE มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มระดับของการรีไซเคิล ของเสีย WEEE และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้ออกแบบให้สามารถแยกส่วน และรีไซด์เคิลได้ งานส่วนหลักนี้เป็นการทำให้ผู้ผลิต และผู้นำเข้า หรือผู้ผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนรับผิดชอบต่อต้นทุนในการจัดเก็บ, การบำบัด หรือการนำทรัพยากรกลับคืนของเสีย WEEE ถ้าเมื่อใดๆ ที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใดๆ ควรจะมีการคำนึงถึงการลดต้นทุนในการจัดการของเสียด้วย ในส่วนระเบียบของ RoHS นั้นเหมาะสมในการลดปริมาณของสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตภัณฑ์ เพื่อหาแนวทางปฎิบัติที่เหมาะสม และเพื่อให้มีการลดต้นทุนในการรีไซด์เคิล

 กลับสู่ด้านบน

 8. อุปกรณ์ชนิดใดบ้างที่อยู่ภายใต้ระเบียบเหล่านี้?

ระเบียบของ WEEE ได้ครอบคลุมรายการของประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ซึ่งแสดงใน Annex 1A ของระเบียบ โดยมี 10 ประเภทด้วยกันที่จัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดใหญ่ไปจนถึงเครื่องใช้แบบอัตโนมัติ ใน Annex 1B ของข้อกำหนด  เป็นรายการตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเภทนั้นๆ อย่างไรก็ตามรายการเหล่านี้เป็นเพียงรายการตัวอย่างเท่านั้น และแสดงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทางระเบียบ RoHS ได้ประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในรายการ Annex ทั้งสองตามระเบียบของ WEEE เป็นสิ่งทีแยกออกไปตามประเภท 8 และ 9 (อุปกรณ์ทางด้านการแพทย์ และเครื่องมือตรวจสอบและควบคุม)

 กลับสู่ด้านบน

 9. ใครคือผู้ผลิต?

ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่บริษัทซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย  ผู้ผลิตจะหมายถึงผู้ค้าปลีกที่มีผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเอง และบริษัทที่จำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง

 กลับสู่ด้านบน

 10. คำจำกัดความของ ‘Producer’  ภายใต้ระเบียบของ RoHS คืออะไร?

ระเบียบ RoHS ได้กำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิตชอบต่อข้อบังคับ และจำกัดความหมายของผู้ผลิตไว้ดังนี้:

ผู้ผลิตหมายถึงบุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะใช้เทคนิคการขายอย่างไรก็ตาม (รวมถึงการใช้วิธีการสื่อสารทางไกล ตามระเบียบ Directive 97/7/EC) :
  • ผลิต และจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง
  • นำเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตโดยผู้อื่นมาจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง ผู้ขายประเภทนี้ไม่ถือเป็นผู้ผลิต ถ้าสินค้านั้นถูกขายภายใต้เครื่องหมายการค้าที่ปรกกฎบนผลิตภัณฑ์
  • นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาจำหน่ายในประเทศสมาชิกอย่างเป็นอาชีพ

 กลับสู่ด้านบน

 11. ความหมายของความรับผิดชอบของผู้ผลิตคืออะไร?

ความรับผิดชอบของผู้ผลิตนั้น หมายถึง การกระทำให้ผู้ผลิตของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผู้รับผิดชอบต่อของเสียที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในขณะนี้ในบางประเทศในสหภาพยุโรปนั้น ได้ให้บริษัทหรือบุคคลที่ทำให้เกิดของเสียดังกล่าว เป็นผู้รับผิดชอบต่อต้นทุนในการกำจัดหรือการรีไชเคิลของเสียนั้น ในขณะที่ภาครัฐดูแลค่าใช้จ่ายสาธารณะทั่วไปในการจัดการของเสีย จากค่าภาษีภายในรัฐนั้นๆ และค่าใช้จ่ายส่วนภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อการดำเนินการเก็บของเสีย แต่ในอนาคตผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเอง

 กลับสู่ด้านบน

 12. ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของข้าพเจ้ายังไม่ได้อยู่ภายใต้ระเบียบ RoHS ในอนาคตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะผ่านการรับรองหรือไม่ ?

ขอบเขตข้อกำหนดของ RoHS ในปัจจุบันบังคับใช้กับ 8 ประเภท ตามหมวดต่างๆ ของ WEEE โดยไม่รวมถึงเครื่องมือทางการแพทย์ และเครื่องมือตรวจและควบคุม ผลิตภัณฑ์ที่อยู่นอกข้อกำหนดนี้จะนำมาพิจารณา และอาจจะมีการเพิ่มและจัดหมวดหมู่เพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนระเบียบ RoHS ได้ระบุข้อยกเว้นไว้ว่าต้องมีการทบทวนรายการต่างๆ อีกครั้งอย่างน้อยทุกๆ 4 ปี หรือเป็นเวลา 4 ปี หลังจากที่ได้ถูกจัดเข้าในหมวดนั้นแล้ว ดังนั้นข้อยกเว้นในปัจจุบันจะถูกพิจารณาอีกครั้งก่อนปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)

 กลับสู่ด้านบน

 13. เมื่อใดที่ผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ RoHS?

RoHS ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2549 จะต้องทำตามระเบียบนี้ ถ้าเกิดข้อสงสัยว่าการวางจำหน่าย (Put on the Market) นั้นมีคำจำกัดความว่าอย่างไร ตามความเข้าใจในส่วนนี้ จากหลักการของ RoHS อาจหมายถึง:
  • ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่อยู่ในสหภาพยุโรป (ไม่ใช่การส่งผ่านไปยังสหภาพฯ)
  • sale ผลิตภัณฑ์สำเร็จ ที่ไม่ต้องต่อประกอบเพิ่มเติมก่อนการขายอีก
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีสำหรับลูกค้า (สำหรับสินค้านำเข้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะถูกพิจารณาต่อเมื่อมีเรื่องการคำเนินการทางศุลกากร สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตในสหภาพยุโรป ซึ่งอาจจะมีการระบุว่ามีการส่งผ่านจากกระบวนการผลิตจนเข้าไปสู่กระบวนการจัดจำหน่าย)
ผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า จะยังไม่ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดตลอด จนกว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะได้ส่งถึงลูกค้านั้น แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่ผลิตหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ RoHS

N.B. “Putting on the market” นั้นไม่จำเป็นว่าต้องมีธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้น ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นได้ถูกส่งผ่านไปยังขั้นตอนของการจัดจำหน่ายแล้วนั้น ก็ถือว่าเป็นสินค้าที่อยู่ในตลาดแล้ว โดยที่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการบริจาคหรือได้มาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ก็ถือเป็นสินค้าที่อยู่ในตลาดเช่นกัน

 กลับสู่ด้านบน

 14. RoHS มีผลบังคับใช้กับอุปกรณ์สำหรับทำต้นแบบและเครื่องมือที่ผลิตไว้เพื่อใช้งานเองเป็นการส่วนตัวหรือไม่?

ระเบียบของ RoHS จะบังคับใช้กับผลิตภัณฑ์ในหมวดเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษเท่านั้น นั่นก็คือผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในตลาด ตั้งแต่วันที่ 1 กรฎาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป  การออกแบบชิ้นส่วนทดลอง, ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เองเป็นการส่วนตัวจะจัดให้อยู่ในข้อยกเว้นด้วย เนื่องจากว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาด

 กลับสู่ด้านบน

 15. ถ้าผลิตภัณฑ์ของข้าพเจ้านั้นมีชชิ้นส่วนต่างๆที่มาประกอบกันจำนวนมาก แล้วชิ้นส่วนเหล่านี้จะต้องอยู่ในระเบียบของ RoHS หรือไม่?

ระเบียบ RoHS จะไม่มีผลบังคับต่อสินค้าสิ้นเปลือง (ได้แก่ ตลับหมึก, ดอกสว่าน) คู่มือ และการบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ดีในส่วนของชิ้นส่วนประกอบ (ได้แก่ สายไฟฟ้า, เครื่องชาร์จแบตเตอรี่, กล่องอุปกรณ์ เป็นต้น) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบต่างๆของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอยู่ภายใน 8 หมวด ที่ได้ระบุไว้ตามระเบียบของ RoHS จะถือว่าเป็นชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ที่จะต้องถูกบังคับใช้เช่นกัน

 กลับสู่ด้านบน

 16. เรามักจะคุ้นเคยกับระเบียบของ WEEE มากกว่าระเบียบของ RoHS เพราะอะไร?

ระเบียบของ RoHS มีความชัดเจนในด้านเชิงกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามเชิงพาณิชย์ก็ยังคงมีความสำคัญมากกว่า ระเบียบนี้บังคับให้ผู้ผลิตต้องมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่วางในตลาดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไปนั้น จะต้องไม่มีส่วนประกอบของตะกั่ว, ปรอท, โครเมียม hexavalent, brominated flame retardant (polybrominated biphenyls และ polybrominated diphenyl ethers)

 กลับสู่ด้านบน

 17. การวางขายในตลาดหมายถึงอะไร?

ตามระเบียบ RoHS ได้ห้ามการใช้สารบางชนิดที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้จำหน่ายในตลาดยุโรป ถ้าผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนประกอบของสารต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น จะถูกจัดให้เป็นสินค้าที่ผิดกฏหมาย ห้ามจำหน่ายในยูโรป ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

 กลับสู่ด้านบน

 18. มีข้อยกเว้นสำหรับผลิตภัณฑ์ใดๆหรือไม่?

ตามภาคผนวกของระเบียบ RoHS ได้แสดงรายการที่ได้รับการยกเว้น แม้ว่ายังคงมีการใช้สารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ รายการที่ได้รับการยกเว้นนี้สามารถนำขึ้นไปทบทวนในระดับประเทศยุโรปได้ ส่วนข้อยกเว้นเพิ่มเติมนั้นก็สามารถนำขึ้นเสนอได้ ในกรณีเมื่อ การกำจัด หรือการทดแทน กับสารอื่นๆ ซึ่งโดยด้านเทคนิค หรือทางด้านวิทยาศาสตร์ แล้วไม่สามารถทำได้ในเชิงปฏิบัติ หรือจะทำให้เกิดผลกระทบด้านลบอื่นๆ ขึ้นตามมา แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณานี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ และข้อยกเว้นเพิ่มเติมใดๆ นั้นจะต้องมีมูลฐานเพียงพอ และเหมาะสม ที่จำเป็นต้องมีการตกลงในระดับประเทศยุโรป


 กลับสู่ด้านบน

 19. หากมีปริมาณสารต้องห้ามอยู่ในวัสดุที่ใช้อยู่แล้วโดยธรรมชาติ จะจัดการอย่างไร?

ทาง RoHS เองทราบดีว่าสารต้องห้ามบางชนิดที่มีอยู่ตามธรรมชาติอาจจะพบในเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือชิ้นส่วนนั้น ในปริมาณต่ำ คณะกรรมการในระดับประเทศยุโรปจึงได้กำหนดระดับความเข้มข้นของสารต้องห้ามเหล่านี้ โดยจะอนุญาตให้มีปริมาณสารนั้นน้อยที่สุดที่ยอมรับได้ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ

 กลับสู่ด้านบน

 20. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารต้องห้ามสามารถวางจำหน่ายในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ในยุโรปได้หรือไม่?

เนื่องจากระเบียบของ RoHS นั้นเป็นระเบียบของยุโรป ระเบียบนี้จึงจะถูกนำไปใช้สำหรับประเทศสมาชิกทั้งหมด ดังนั้นระเบียบนี้จะไม่ได้บังคับใช้ในประเทศที่ไม่ได้รวมอยู่ในสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามประเทศเหล่านี้ก็อาจจะนำเอาระเบียบนี้ไปเป็นระเบียบภายในประเทศของตนเองก็ได้

 กลับสู่ด้านบน

 21. ระเบียบของ RoHS ส่งผลให้ต้นทุนของชิ้นส่วนประกอบสูงขึ้นหรือไม่?

การที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตรงตามระเบียบนี้ (เช่นการปรับเปลี่ยนเอกสาร, การจัดการคลังสินค้า เป็นต้น) ผู้ผลิตจะต้องมีภาระต้นทุนจำนวนหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งในตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเองก็มีการแข่งขันสูงมาก และผู้ผลิตจำนวนมากไม่ต้องการที่จะขึ้นราคาสินค้าของตนเอง และไม่ต้องเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่ง ผู้ผลิตบางรายได้มีการแจ้งว่าราคาสินค้าที่จะสูงขึ้น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ทำกันทุกราย และระดับของการขึ้นราคาก็ต่างกันไปด้วย

 กลับสู่ด้านบน

 22. พนักงานของข้าพเจ้าจำเป็นต้องได้รับการอบรมอะไรบ้าง เพื่อเตรียมพร้อมและจัดการกับช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ RoHS?

การปฎิบัติตามระเบียบของ RoHS นี้มีผลในวงกว้าง ที่จะส่งผลต่อทุกส่วนในองค์กรนั้นๆ ตั้งแต่ฝ่ายจัดซื้อไปจนถึงฝ่ายบริหารคลังสินค้า, ฝ่ายผลิต และการบริการ ซึ่งการที่จะตอบคำถามนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย

มีส่วนที่สำคัญหลักในการที่จะต้องอบรมในครั้งนี้ คือ:
  • ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์จะต้องมีความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ จำเป็นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ RoHS หรือไม่  และต้องใช้วิธีใดในการผลิต
  • ฝ่ายจัดซื้อต้องตระหนักถึงระเบียบของ RoHS และแผนการของซัพพลายเออร์ที่มีในช่วงการปรับเปลี่ยน เพื่อที่จะนำมาบริหารคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Logistics ฝ่ายลอจีสติกส์จำเป็นต้องบริหารคลังสินค้าเพื่อให้มั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามข้อกำหนด และไม่ตรงตามข้อกำหนดเหล่านี้ไม่ผสมปนกัน และเพื่อที่จะเข้าใจเหตุผลที่ต้องใช้ลอจีสติกส์
  • ฝ่ายควบคุมคุณภาพจะต้องมีความเข้าใจต่อผลกระทบของ RoHS ต่อการเลือกใช้อะไหล่และส่วนประกอบ และการออกแบบและทดสอบผลิตภัณฑ์ หรือการจัดการด้านเอกสาร เป็นต้น
  • ผู้ผลิตจะต้องมีการทบทวนกระบวนการบัดกรีเพื่อประเมินว่าขั้นตอนการทำจะปราศจากสารตะกั่ว
  • ผู้ปฏิบัติการจะต้องได้รับการอบรมใหม่ในการใช้อุปกรณ์,เครื่องมือในการบัดกรี โดยปราศจากสารตะกั่ว
  • ผู้ตรวจเช็คสินค้าจะต้องมีความเข้าใจการเชื่อมบัดกรี ว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง ระหว่างการเชื่อมที่มีสารตะกั่ว กับไม่มีสารตะกั่ว
  • หน่วยบริการต้องมีความเข้าใจในการปฎิบัติสำหรับวิธีการบำรุงรักษาผลิตที่วางอยู่ในตลาดก่อน และหลังวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

 กลับสู่ด้านบน

 23. มีชิ้นส่วนประกอบที่ถูกผลกระทบหรือไม่ถูกใช้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ เนื่องมาจากการบังคับใช้ระเบียบของ RoHS?

โดยทั่วไป ผลิตภัณฑ์ที่ตกรุ่นจะมีปริมาณมากขึ้น อันเนื่องมาจากผู้ผลิตเลิกผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ไม่ตรงตามข้อกำหนด และผลิตชิ้นส่วนอื่นมาใช้แทน ถ้ายังมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนรุ่นเก่าอยู่อาจทำได้ดังนี้:
  • แจ้งแหล่งที่สามารถหาได้แหล่งอื่น
  • แจ้งแนะนำอุปกรณ์ชิ้นส่วนอื่น
  • จัดจำหน่ายให้แต่ระบุว่า ‘การซื้อเป็นครั้งสุดท้าย’
สิ่งสำคัญคือการสื่อสารเป็นประจำกับผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย ในเรื่องการตกรุ่นหรือการเลิกผลิตชิ้นส่วน พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ปัญหา

 กลับสู่ด้านบน