การค้าหาล่าสุด / Recently searched

    Vibration Sensors

    รู้รอบเรื่องเซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนในเครื่องจักร

    เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Sensor) หรือที่เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า เพียโซเซ็นเซอร์ (Piezoelectric Sensor) คือ เครื่องมืออเนกประสงค์ที่ใช้สำหรับตรวจวัดกระบวนการทำงานต่าง ๆ เซ็นเซอร์ชนิดนี้ทำงานโดยอาศัยหลักการของผลเพียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric Effect) ซึ่งสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน การเร่งความเร็ว หรืออุณหภูมิ และเปลี่ยนค่าที่วัดได้ให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า นอกจากนี้ เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนยังสามารถใช้ในการตรวจสอบกลิ่นในอากาศ ด้วยการวัดค่าการสั่นพ้องและค่าความจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

    เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการวัดปริมาณและความถี่ของแรงสั่นสะเทือนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถนำไปใช้ในการตรวจจับและเฝ้าระวังปัญหาต่าง ๆ เช่น ความไม่สมดุลของเครื่องจักร ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเสียหายหรือการชำรุด

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการทำงาน อาจมีความแตกต่างกันอย่างมาก จึงควรเลือกเซ็นเซอร์ที่สามารถวัดช่วงแรงสั่นสะเทือนให้เหมาะกับงานของคุณ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ และสอดคล้องกับความต้องการในการใช้งาน

    Vibration Sensor มีหลักการทำงานอย่างไร ?

    Vibration Sensor ทำงานโดยการแปลงพลังงานกล (แรงสั่นสะเทือน) ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยมีกระบวนการทำงานดังนี้

    การตรวจจับแรงสั่นสะเทือน (Vibration Detection)

    เซ็นเซอร์จะตรวจจับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในระบบหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจมาจากการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการเฉพาะใด ๆ 

    การแปลงพลังงาน (Energy Conversion)

    • ในเซ็นเซอร์ Piezoelectric จะใช้ผลึกเพียโซอิเล็กทริกในการแปลงแรงกดดันหรือแรงสั่นสะเทือนให้เป็นแรงดันไฟฟ้า
    • ในเซ็นเซอร์ประเภทอื่น เช่น Capacitive Sensors จะใช้การเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้าในการตรวจจับแรงสั่นสะเทือน

    การประมวลผลสัญญาณ (Signal Processing)

    สัญญาณที่ได้จากเซ็นเซอร์ จะถูกส่งต่อไปยังระบบประมวลผล เพื่อวิเคราะห์ค่าความถี่และแอมพลิจูดของแรงสั่นสะเทือน

    การแสดงผล (Output Display)

    ข้อมูลที่ได้จะถูกแสดงในรูปแบบดิจิทัลหรือแอนะล็อก เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์สถานะของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้อย่างสะดวก

    เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือน มีกี่ชนิด

    เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามเทคโนโลยีและหลักการทำงานที่ใช้ ดังนี้

    Piezoelectric Sensors (เพียโซอิเล็กทริกเซ็นเซอร์)

    • ใช้ผลึกเพียโซอิเล็กทริกในการแปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
    • มีความแม่นยำสูง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการวัดแรงสั่นสะเทือนในช่วงความถี่กว้าง

    Capacitive Sensors (เซ็นเซอร์แบบความจุไฟฟ้า

    • ทำงานโดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของค่าความจุไฟฟ้าระหว่างตัวนำไฟฟ้า
    • เหมาะสำหรับการตรวจจับแรงสั่นสะเทือนในระบบที่มีแรงสั่นสะเทือนต่ำ

    Resistive Sensors (เซ็นเซอร์แบบความต้านทาน)

    • วัดการเปลี่ยนแปลงของแรงต้านทานที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือน
    • ใช้งานง่ายและมีราคาประหยัด

    Optical Sensors (เซ็นเซอร์แบบแสง)

    • ใช้แสงเลเซอร์ในการตรวจจับแรงสั่นสะเทือน
    • มีความแม่นยำสูงและเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่สามารถติดตั้งเซ็นเซอร์สัมผัสได้

    Magnetic Sensors (เซ็นเซอร์แบบแม่เหล็ก)

    • ใช้การเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็กเพื่อตรวจจับแรงสั่นสะเทือน
    • เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใช้สนามแม่เหล็ก

    Strain Gauge Sensors (เซ็นเซอร์แบบวัดแรงเครียด)

    • ใช้การเปลี่ยนแปลงแรงเครียดของวัสดุในการวัดแรงสั่นสะเทือน
    • นิยมใช้ในงานที่ต้องการวัดแรงสั่นสะเทือนร่วมกับการวิเคราะห์โครงสร้าง

    งานประเภทใดบ้างที่ใช้เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน หรือเซ็นเซอร์ Piezoelectric

    อุตสาหกรรมการแพทย์

    เพียโซเซ็นเซอร์มักนิยมนำไปใช้เพื่อตรวจวัดการทำงานของเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดการเต้นของหัวใจและเครื่องมือผ่าตัด เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการทำงาน

    งานวิศวกรรม

    วิศวกรในสายงานต่าง ๆ ใช้เซ็นเซอร์ชนิดนี้ในการวิเคราะห์และตรวจสอบแรงสั่นสะเทือนในเครื่องจักร เพื่อประเมินและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

    อุตสาหกรรมยานยนต์

    เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือนมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะในการตรวจสอบแรงสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์และส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อนำค่าที่วัดได้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของยานพาหนะ

    งานนิวเคลียร์

    ในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนมักนำไปใช้เพื่อตรวจจับแรงสั่นสะเทือนที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบและโครงสร้างสำคัญ

    เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ?

    ค่าความต้านทานโอห์มที่แตกต่างกัน (Ohms Rating)

    เซ็นเซอร์แต่ละรุ่นมีค่าความต้านทานโอห์มที่แตกต่างกัน การเลือกเซ็นเซอร์ที่มีค่าโอห์มเหมาะสม จะช่วยให้การวัดมีความแม่นยำมากขึ้น

    ขนาดที่หลากหลาย (Various Sizes)

    เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนมีให้เลือกหลากหลายขนาด เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในพื้นที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องจักรขนาดเล็ก ไปจนถึงระบบขนาดใหญ่

    ค่าการวัดแรงสั่นสะเทือนสูงสุด (Maximum Vibration Reading)

    เซ็นเซอร์บางรุ่นสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้สูงสุดถึง 29,400 m/s² ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก

    ความแตกต่างระหว่าง Vibration Sensor และ Accelerometer

    Accelerometer

    Accelerometer คืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อวัดการเร่งความเร็วของวัตถุโดยเฉพาะ โดยสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของความเร็วในแกนต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัดแรงสั่นสะเทือนโดยตรง

    Vibration Sensor

    เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Sensor) คือเซ็นเซอร์ชนิดที่สามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ และยังสามารถวัดค่าการเร่งความเร็วได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น Vibration Sensor จึงถือเป็น Accelerometer ประเภทหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่องานที่เกี่ยวกับแรงสั่นสะเทือนโดยเฉพาะ

    สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อเซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน

    ช่วงแรงสั่นสะเทือนและความไว (Vibration Range and Sensitivity)

    • หากเครื่องจักรผลิตแรงสั่นสะเทือนที่มีค่าแอมพลิจูดสูง ควรเลือกเซ็นเซอร์ที่มีความไวต่ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ
    • หากแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่า 10 g ตามแบบ rms ควรเลือกเซ็นเซอร์ที่มีความไวประมาณ 100 mV/g

    ช่วงความถี่ (Frequency)

    การทราบช่วงความถี่ที่ต้องการวัดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเซ็นเซอร์แต่ละรุ่นออกแบบมาสำหรับช่วงความถี่เฉพาะ

    อุณหภูมิ (Temperature)

    อุณหภูมิที่สูงอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเซ็นเซอร์ จึงควรเลือกเซ็นเซอร์ที่ทนทานต่ออุณหภูมิต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

    การสัมผัสกับสารเคมีหรือเศษวัสดุ (Exposure to Chemicals or Debris)

    เซ็นเซอร์ที่ต้องสัมผัสสารเคมีหรือสิ่งสกปรกเป็นเวลานาน อาจมีปัญหาเรื่องความแม่นยำในการวัด และเสี่ยงต่อความเสียหาย ควรเลือกเซ็นเซอร์ที่สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมีหรือมีฝุ่นจับได้ 

    สภาพแวดล้อม (Environment)

    หากใช้งานในพื้นที่อันตราย ควรเลือกเซ็นเซอร์ที่ออกแบบมาสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พื้นที่ที่มีแก๊สไวไฟ

    ตำแหน่งการติดตั้ง (Sensor Location)

    เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนมีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย เช่น

    • ติดตั้งไว้ด้านบนเครื่องจักร
    • ติดตั้งไว้ด้านข้างเครื่องจักร
    • ติดตั้งไว้ด้านล่างเครื่องจักร

    การเลือกตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม จะช่วยให้การวัดมีความสะดวกและแม่นยำมากขึ้น

    RS จำหน่ายเซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนจากแบรนด์ชั้นนำที่คุณมั่นใจ ช็อปสะดวกทางออนไลน์

    RS ผู้นำด้านโซลูชันอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ จำหน่ายเซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนในเครื่องจักร จากแบรนด์ชั้นนำ ที่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน เช่น Hauber Elektronik, TE Connectivity, Assemtech และแบรนด์ของเราเองอย่าง RS PRO โดยจำหน่าย Vibration Sensor ทั้งราคาปลีกและราคาส่ง สามารถเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้อย่างสะดวกตลอด 24 ชม. บนเว็บไซต์ พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมของคุณได้เลย

    1 จาก 1
    0 Products
    ค่าคัดกรองที่เลือกไว้ / Applied Filters (1)
    Brand :ล้าง
    KEMET
    ยกเลิกทั้งหมด / Remove all
    0 Products
    ราคา / Price
    Brand :
    Maximum Shock / Vibration
    Maximum Current
    Maximum AC Voltage
    Maximum DC Voltage
    Contact Resistance
    Switching Frequency
    Length
    Width
    Depth
    Minimum Operating Temperature
    Maximum Operating Temperature
    Hazardous Area Certification
    Product Details
    ราคา / Price
    Brand :
    Maximum Shock / Vibration
    Maximum Current
    Maximum AC Voltage
    Maximum DC Voltage
    Contact Resistance
    Switching Frequency
    Length
    Width
    Depth
    Minimum Operating Temperature
    Maximum Operating Temperature
    Hazardous Area Certification

    Your current combination of filters has returned 0 results. Please change your selection.

    ผลลัพธ์ต่อหน้า